เมนู

อรรถกถาทุติยวรรคที่ 2



ทุติยวรรคที่ 2.

พระเถระปฏิญาณทศพลญาณด้วยคำเป็นต้น ว่า
ฐานะ โดยความเป็นฐานะ. ก็ทศพลญาณนี้ พวกสาวกมีหรือไม่ มีเป็น
บางส่วน. แต่สำหรับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทศพลญาณนี้ มีครบ
บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างแล.
จบอรรถกถาอนุรุทธสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สหัสสสูตร 2. อิทธิสูตร 3. ทิพโสตสูตร 4. เจโตปริจจสูตร
5. ฐานาฐานสูตร 6. วิปากสูตร 7. สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร 8. นานา
ธาตุสูตร 9. อธิมุตติสูตร 10. อินทริยสูตร 11. สังกิเลสสูตร 12. ปฐม
วิชชาสูตร 13. ทุติยวิชชาสูตร 14. ตติยวิชชาสูตร.

ฌานสังยุต



ว่าด้วยฌาน 4



[1300] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน เหล่านี้ ฌาน 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็น
ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์
อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน 4 เหล่านี้แล.
[1301] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไป
สู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญ
กระทำให้มากซึ่งฌาน 4 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1302] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน
4 อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน... ตติยฌาน...
จตุตถฌาน... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน 4
อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
(พึงขยายความบาลีออกไปอย่างนี้ จนถึงความแสวงหา)
[1303] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5
เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่านี้แล.
[1304า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน 4 อัน ภิกษุพึงเจริญเพื่อความ
รู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน
5 เหล่านี้ ฌาน 5 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน ... ตติยฌาน... จตุตถฌาน... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน 4
อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่านี้แล.
(คังคาเปยยาล พึงขยายเนื้อความฌานสังยุต ตลอดถึงบาลี ไปจนถึง
ความแสวงหา เหมือนมรรคสังยุต)
จบฌาณสังยุต
ฌาณสังยุต มีใจความตื้น ๆ ทั้งนั้น.

อานาปานสังยุต



เอกธรรมวรรคที่ 1



1. เอกธรรมสูตร



ว่าด้วยอานาปานสติ



[1305] กรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน คือ อานาปานสติ.
[1306] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อ
หายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจ
เข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น
ผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิต-
สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อม