เมนู

7. ตัณหักขยสูตร



เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา



[1278] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้น แล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อัน
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา สติ
ปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่...
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. . .
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4
เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
ตัณหา.
จบตัณหักขยสูตรที่ 7

อรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ 4 เป็นต้น



ปฐมกัณฏกีสูตรที่ 4.

คำว่า ณ กัณฏกีวัน คือในป่าขนุนใหญ่.
ตติยกัณฏกีสูตรที่ 6. ท่านแสดงธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ของ
พระเถระด้วยคำว่า โลกพันหนึ่ง นี้. จริงอยู่ พระเถระล้างหน้าแต่เช้าตรู่แล้ว
ก็มาระลึกถึงพันกัปในอดีตและอนาคต. แต่ในปัจจุบัน มาสู่คลองแห่งการคำนึง
หนึ่งมีจำนวนหนึ่งหมื่นจักรวาล. ตัณหักขยสูตรที่ 7 เนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ 4 เป็นต้น

8. สลฬาคารสูตร



ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ลาสิกขา



[1279] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร ใกล้กรุง
สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชนถือเอาจอบและ
ตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า จักทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ
ดังนี้ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดน้ำ
คงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ได้บ้างหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไม่ได้ ขอรับ.
อ. เพราะเหตุไร.
ภิ. เพราะการที่จะทดแม่น้ำคงคาอันไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ มิใช่กระทำ
ได้ง่าย หมู่มหาชนนั้นจะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า
แน่นอน.
อ. ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์
ของพระราชา มิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญ
กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ จง
มาเถิด ท่านจะครองผ้ากาสาวะเหล่านี้อยู่ทำไม ท่านจะเป็นผู้มีศีรษะโล้นมือ
ถือกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาตอยู่ทำไม นิมนต์ท่านสึกมาบริโภคสมบัติและ
บำเพ็ญบุญเถิด ข้อที่ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 จักลา