เมนู

7. ตัณหักขยสูตร



เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา



[1278] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้น แล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อัน
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา สติ
ปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่...
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. . .
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4
เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
ตัณหา.
จบตัณหักขยสูตรที่ 7

อรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ 4 เป็นต้น



ปฐมกัณฏกีสูตรที่ 4.

คำว่า ณ กัณฏกีวัน คือในป่าขนุนใหญ่.
ตติยกัณฏกีสูตรที่ 6. ท่านแสดงธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ของ
พระเถระด้วยคำว่า โลกพันหนึ่ง นี้. จริงอยู่ พระเถระล้างหน้าแต่เช้าตรู่แล้ว
ก็มาระลึกถึงพันกัปในอดีตและอนาคต. แต่ในปัจจุบัน มาสู่คลองแห่งการคำนึง
หนึ่งมีจำนวนหนึ่งหมื่นจักรวาล. ตัณหักขยสูตรที่ 7 เนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ 4 เป็นต้น