เมนู

อรรถกถาสุตนุสูตร



สุตนุสูตรที่ 3.

คำว่า ความเป็นแห่งมหาอภิญญา คือความเป็น
อภิญญา. ในคำว่า ธรรมอันเลว เป็นต้น พึงทราบใจความตามบาลีนี้ว่า
ชื่อว่า ธรรมอันเลวเป็นไฉน ความเกิดขึ้นแห่งจิตที่เป็นอกุศล
12 ดวง เหล่านี้เป็นธรรมอันเลว. ธรรมปานกลาง เป็นไฉน กุศลใน 3
ภูมิ วิบากในภูมิทั้ง 3 และรูปทั้งหมดทั้งเป็นกิริยาอัพยากฤตในภูมิทั้ง 3 เหล่านี้
เป็นธรรมปานกลาง. ธรรมอันประณีตเป็นไฉน มรรคทั้ง 4 ที่เป็นสิ่งไม่
เกี่ยวเนื่อง สามัญญผล 4 และนิพพาน 1 เหล่านี้ เป็นธรรมอันประณีต
จบอรรถกถาสุตนุสูตรที่ 3

4. ปฐมกัณฏกีสูตร



ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง



[1272] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ กัณฏกีวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น
เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่
พักผ่อน เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ
ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง
* สูตรที่ 4 ถึงสูตรที่ 7 แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ 7

ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ
ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่.
[1273] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร สติ-
ปัฏฐาน 4 อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่ สติปัฎฐาน 4 เป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนา.. . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตะ. . .ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ดูก่อนท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่.
จบปฐมกัณฏกีสูตรที่ 4

5. ทุติยกัณฏกีสูตร



ธรรมที่พระอเสขะพึงเข้าถึง



[1274] สาเกตนิทาน. . . ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่าน
พระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็นอเสขะ
พึงเข้าถึงอยู่.
[1275] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร สติ-
ปัฏฐาน 4 อันภิกษุผู้เป็นอเสขะพึงเข้าถึงอยู่ สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน