เมนู

3. สุตนุสูตร


การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา


[1270] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุตนุ ใกล้กรุง
สาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย
กับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงไป
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่ง
มหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน.
[1271] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เรา
บรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เราพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ . . . เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . เราพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา
เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เหล่านี้แล อนึ่ง เพราะได้
เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ เราจึงได้รู้ธรรมอันเลว
โดยความเป็นธรรมอันเลว รู้ธรรมปานกลาง โดยความเป็นธรรมปานกลาง
รู้ธรรมอันประณีต โดยความเป็นธรรมอันประณีต.
จบสุตนุสูตรที่ 3

อรรถกถาสุตนุสูตร



สุตนุสูตรที่ 3.

คำว่า ความเป็นแห่งมหาอภิญญา คือความเป็น
อภิญญา. ในคำว่า ธรรมอันเลว เป็นต้น พึงทราบใจความตามบาลีนี้ว่า
ชื่อว่า ธรรมอันเลวเป็นไฉน ความเกิดขึ้นแห่งจิตที่เป็นอกุศล
12 ดวง เหล่านี้เป็นธรรมอันเลว. ธรรมปานกลาง เป็นไฉน กุศลใน 3
ภูมิ วิบากในภูมิทั้ง 3 และรูปทั้งหมดทั้งเป็นกิริยาอัพยากฤตในภูมิทั้ง 3 เหล่านี้
เป็นธรรมปานกลาง. ธรรมอันประณีตเป็นไฉน มรรคทั้ง 4 ที่เป็นสิ่งไม่
เกี่ยวเนื่อง สามัญญผล 4 และนิพพาน 1 เหล่านี้ เป็นธรรมอันประณีต
จบอรรถกถาสุตนุสูตรที่ 3

4. ปฐมกัณฏกีสูตร



ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง



[1272] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ กัณฏกีวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น
เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่
พักผ่อน เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ
ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง
* สูตรที่ 4 ถึงสูตรที่ 7 แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ 7