เมนู

[1261] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[1262] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า
ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะใน
สิ่งทั้งสองนั้นอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า
ปรารภสติปัฏฐาน 4. . . . .. 4 .
จบปฐมรโหคตสูตรที่ 1

อนุรุทธสังยุตตวรรณนา



รโหคตวรรคที่ 1



อรรถกถาปฐมรโหคตสูตร



อนุรุทธสังยุต ปฐมรโหคตสูตรที่ 1.

คำว่า อันปรารภแล้ว
คือ เต็มที่แล้ว. ก็แลในสูตรนี้ ว่าโดยย่อ ก็คือได้ทรงแสดงวิปัสสนาที่ให้ถึง
ความเป็นพระอรหันต์ใน 36 ฐานะ.
จบอรรถกถาปฐมรโหคตสูตรที่ 1

2. ทุติยรโหคตสูตร



ว่าด้วยสติปัฏฐาน 4



[1263] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ใน
ที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฎฐาน 4 อันชนเหล่าใด
เหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ สติปัฏฐาน 4 อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภเเล้ว ชนเหล่านั้น
ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
[1264] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจ
ของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธะ
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
[1265] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระ
อนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า
ปรารภสติปัฏฐาน 4.
[1266] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นกายในกายใน
ภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[1267] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายในอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสียได้
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา