เมนู

อรรถกถาโมคคัลลานสูตรเป็นต้น



ในสูตรที่ 11 และ 12 ทรงแสดงอภิญญา 6 ไว้. คำที่เหลือในที่
ทุกแห่ง มีใจความที่ตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรเป็นต้น
จบอรรถกถาอโยคุฬวรรคที่ 3
จบอรรถกถาอิทธิปาทสังยุต

คังคาทิเปยยาลแห่งอิทธิบาทสังยุต*



ว่าด้วยผลแห่งอิทธิบาท 4



[1249] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอิทธิบาท 4 กระทำ
ให้มากซึ่งอิทธิบาท 4 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1250] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอิทธิบาท 4 กระทำให้
มากซึ่งอิทธิบาท 4 อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ. . .
จิตตสมาธิ. . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ภิกษุเจริญอิทธิบาท 4 การทำ
ให้มากซึ่งอิทธิบาท 4 อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
(พึงขยายความบาลีในอิทธิบาท จนกระทั่งถึงความแสวงหา)
* ไม่มีอรรถกถาแก้

[1251] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่า
นี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่านี้แล.
[1252] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท 4 เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่า
นี้แล อิทธิบาท 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
วิริยสมาธิ. . . จิตตสมาธิ . . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ภิกษุพึงเจริญ
อิทธิบาท 4 เหล่านี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่านี้แล.
(คังคาเปยยาลเหมือนกับมรรคสังยุต ที่ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว พึง
ขยายความบาลีในอิทธิบาท จนกระทั่งถึงความแสวงหา)
จบอิทธิบาทสังยุต

อนุรุทธสังยุต



รโหคตวรรคที่ 1



1. ปฐมรโหคตสูตร



ว่าด้วยสติปัฏฐาน 4



[1253] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้;-
สมัยหนึ่ง. ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ
หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน 4
อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน 4 อัน ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
[1254] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจ
ของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ
เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน 4.
[1255] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายในอยู่ พิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง