เมนู

อโยคุฬวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถาอโยคุฬสูตร



อโยคุฬวรรคที่ 3 สูตรที่ 2.

คำว่า อันประกอบด้วยมหาภูต
รูป 4
นี้ คือ สำเร็จมาจากมหาภูตทั้ง 4 นี้ แม้เป็นภาระ เป็นของหนักอย่างนี้.
คำว่า โอมาติ ได้แก่ ย่อมเพียงพอ คือ ย่อมสามารถ. บทนี้เป็นบทที่ไม่
แตกต่างในพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฏก. คำว่า ย่อมตั้งแม้กายไว้ในจิต
ได้แก่ ถือเอากายมาไว้ในจิต คือทำให้อาศัยจิต ส่งไปในคติของจิต. ที่ชื่อว่า
จิต หมายเอามหัคคตจิต. การไปของคติแห่งจิต ย่อมเป็นของเบาเร็ว. คำว่า
ย่อมตั้งแม้จิตไว้ในกาย ได้แก่ ยกเอาจิตมาไว้ในกาย คือ ทำให้อาศัยกาย
ส่งไปในคติของกาย. กรัชกายชื่อว่ากาย. การไปของคติแห่งกายเป็นของช้า.
คำว่า สุขสัญญา และลหุสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดพร้อมกับอภิญญา
จิต. จรึงอยู่ สัญญานั้น เพราะประกอบด้วยสุขสงบ จึงชื่อว่าสุขสัญญา และ
เพราะไม่มีความประพฤติชักช้าเพราะกิเลส จึงชื่อว่า ลหุสัญญา.
คำว่า ก้อนเหล็กที่เผาไฟ อยู่วันยังค่ำย่อมเบากว่าปกติ
ความว่า ก็แล ก้อนเหล็กนั้นแม้ถูกคนสองสามคนช่วยกันยกใส่ในเตาช่างเหล็ก
ถูกเผาอยู่ตลอดวัน เป็นสิ่งที่ไปด้วยกันกับลม เพราะไฟที่ใส่เข้าไปตามช่อง
และเพราะลม เป็นของที่ไปด้วยกันกับไอ และเป็นของที่ไปด้วยกันกับไฟ
อย่างนี้จึงกลายเป็นของเบา. ช่างเหล็ก เอาคีมใหญ่มาคีบจับมันด้านหนึ่งพลิก
ไปมา ยกขึ้นเอาออกมาข้างนอกฉันใด กายของพระตถาคตก็ฉันนั้น ย่อมอ่อน

และเหมาะแก่การงาน. ช่างเหล็กจะตัดมันเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ จะเอาค้อน
มาทุบทำต่างด้วยรูปสี่เหลี่ยมยาวเป็นต้นได้ฉันใด ในพระสูตรนี้ทรงแสดงการ
แผลงฤทธิ์ฉันนั้น.
จบอรรถกถาอโยคุฬสูตรที่ 2

3. ภิกขุสุทธกสูตร



ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาท



[1215] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 เหล่านี้ อิทธิบาท 4
เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขาร. . .วิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 8 เหล่านี้แล.
[1216] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่ง
อิทธิบาท 4 เหล่านี้แล ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่.
จบภิกขุสุทธกสูตรที่ 3