เมนู

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่.
(พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร)
จบวิภังคสูตรที่ 10
จบปาสาทกัมปนวรรคที่ 2

อรรถกถาวิภังคสูตร



วิภังคสูตรที่ 10.

ในคำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นี้
ภิกษุเมื่อปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วนั่งเอาใจใส่กัมมัฏฐานอยู่ ที่นั้น เธอมี
อาการย่อท้อหยั่งลงในจิต เธอรู้ว่า อาการย่อท้อหยั่งลงในจิตเรา ก็เอาภัยใน
อบายมาข่มจิต ทำให้เกิดความพอใจขึ้นมาอีก แล้วตั้งจิตตั้งใจทำกัมมัฏฐาน.
ที่นั้น เธอเกิดมีอาการย่อท้อหยั่งลงในใจอีก เธอก็ยกเอาภัยในอบายมาข่มจิตอีก
ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกัมมัฏฐานดังว่ามานี้ ความ
พอใจของเธอชื่อว่าย่อมประกอบด้วยความเกียจคร้าน เพราะความที่เธอถูก
ความเกียจคร้านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้. คำว่า สัมปยุตด้วยความเกียจ
คร้าน
เป็นคำที่ใช้แทน คำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นั้นเอง.
ในคำว่า ประกอบด้วยอุทธัจจะ นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้
เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น จิตเธอตกไปในความฟุ้งซ่าน
เธอก็มารำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ทำใจให้ร่าเริง
ให้ยินดี ทำให้ควรแก่การงาน แล้วยังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่อีก แล้วก็

พิจารณากัมมัฏฐาน. คราวนี้จิตของเธอก็ตกไปในความฟุ้งซ่านอีก เธอก็มา
รำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อีก ทำใจให้ร่าเริง ให้ยินดี
ปลูกฝังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่ แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐาน เพราะเหตุนี้
ความพอใจของเธอ ก็ย่อมชื่อว่าประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน เพราะถูกความ
ฟุ้งซ่านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.
ในคำว่า ประกอบด้วยถีนมิทธะ นี้ ภิกษุทำความพอใจให้เกิด
ขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่ ทีนั้น ความง่วงเหงาหาวนอน ก็เกิดขึ้น
แก่เธอ เธอทราบได้ว่า ถีนมิทธะ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็เอาน้ำมาล้างหน้า
ดึงใบหูท่องธรรมที่คล่อง (ด้วยเสียงดัง) หรือสนใจความสำคัญว่าแสงสว่างที่
ถือเอาไว้ เมื่อตอนกลางวัน บรรเทาถีนมิทธะออกไป แล้ว ยังความพอใจให้
เกิดขึ้นอีก พิจารณา กัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น ถีนมิทธะเกิดขึ้นแก่เธออีก เธอก็
บรรเทาถีนมิทธะออกไปอีกตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ทำความพอใจให้เกิด
ขึ้นใหม่ แล้วพิจารณากัมมัฏฐานอยู่ เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอจึงชื่อว่า
ประกอบด้วยถีนมิทธะ เพราะถูกถีนมิทธะครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.
ในคำว่า ฟุ้งซ่าน นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่ง
พิจารณากัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น จิตของเธอก็ซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ
เธอรู้ได้ว่า จิตเราซัดส่ายไปข้างนอกแล้ว ก็มาคำนึงถึงอนมตัคคสูตร เทวทูต
สูตร เวลามสูตร และอนาคตภยสูตรเป็นต้น เอาพระสูตรมาเป็นเครื่องข่มจิต
ทำให้ควรแก่การงาน ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นมาอีกแล้ว ก็เอาใจใส่กัมมัฏฐาน
อยู่. ทีนั้น จิตของเธอก็ซัดส่ายไปอีก เธอก็ข่มจิตด้วยอาชญา คือ พระสูตรทำ
ให้ควรแก่การงาน ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นมาอีก แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐาน
อยู่ เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอจึงย่อมชื่อว่า ปรารภกามคุณ 5 อย่าง

ในภายนอก แล้วเป็นของซัดส่ายไปตาม ซ่านไปตาม เพราะระคนปนเจือไป
ด้วยความตรึกไปในกาม ด้วยประการฉะนี้.
ในคำว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น พึงทราบเบื้องหน้า
และเบื้องหลัง ด้วยอำนาจกัมมัฏฐานบ้าง ด้วยอำนาจเทศนาบ้าง อย่างไร
ในเรื่องกัมมัฏฐานก่อน การตั้งมั่นแห่งกัมมัฏฐาน ชื่อว่า เบื้องหน้า อรหัต
ชื่อว่า เบื้องหลัง ในเรื่องนั้น ภิกษุใดยึดเอามูลกัมมัฏฐานไว้มั่นแล้ว
เกียดกันความย่อหย่อนของจิต ในฐานะทั้ง 4 อย่าง มีความย่อหย่อนเกินไป
เป็นต้น ไม่ติดขัดในฐานะทั้ง 4 แม้แต่แห่งเดียว เหมือนเทียมโคพยศใช้งาน
จนไค้ หรือเหมือนดอกไม้ 4 เหลี่ยมแทรกเข้าไป พิจารณาสังขารทั้งหลายย่อม
บรรลุพระอรหัต. ภิกษุแม้นี้ ก็ย่อมชื่อว่า เบื้องหน้าฉัน ใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น
นี้เป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลังด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน ส่วนที่ว่าด้วยอำนาจเทศนา
ผมชื่อว่าเบื้องหน้า มันสมอง ชื่อว่าเบื้องหลัง.
ในเรื่องเกี่ยวกับเทศนา (การแสดง) นั้น ภิกษุใดยึดมั่นในผมทั้งหลาย
แล้ว กำหนดผมเป็นต้น ด้วยอำนาจสีและสัณฐานเป็นต้น ไม่ติดขัดในฐานะ
ทั้ง 4 อย่าง ยังภาวนาให้ถึงจนถึงมันสมอง. แม้ภิกษุนี้ ก็ย่อมชื่อว่า เบื้องหน้า
ฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้นอยู่. พึงทราบความเป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ด้วย
อำนาจเทศนาดังที่ว่ามานี้. คำว่า เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น
นี้เป็นคำที่ใช้แทนกันของนัยก่อนนั่นเอง.
คำว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น นี้พึงทราบด้วย
อำนาจสรีระ. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้างบนแต่
ฝ่าเท้าขึ้นนา ข้างล่างแต่ปลายผมลงไป ดังนี้ ในกรณีนั้น ภิกษุใดยังภาวนา
ให้ถึงด้วยอำนาจอาการ 32 ประการ ตั้งแต่ฝ่าเท้าในรูปจนถึงปลายผม หรือ

ด้วยอำนาจกระดูก แต่กระดูกข้อต่ออันปลายสุดของนิ้วเท้าขึ้นไปจนถึงกระโหลก
ศีรษะ แต่กระดูกกระโหลกศีรษะลงไปจนถึงกระดูกข้อต่ออันปลายสุดของนิ้วเท้า
ไม่มีข้องขัดในฐานะทั้ง 4 แม้แต่แห่งเดียว ภิกษุนี้ ย่อมชื่อว่า เบื้องบนฉันใด
เบื้องล่างก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้นอยู่.
คำว่า ด้วยอาการเหล่าใด คือด้วยส่วนเหล่าใด. คำว่า ด้วยเพศ
เหล่าใด
คือด้วยทรวดทรงเหล่าใด. คำว่า ด้วยนิมิตเหล่าใด คือ ด้วย
ลักษณะที่ปรากฏเหล่าใด. คำว่า อาโลกสญฺญา สุคฺคหิตา โหติ ความว่า
ภิกษุใดนั่งที่ลานแล้วมาเอาใจใส่ต่ออาโลกสัญญา หลับตาลงเป็นบางครั้ง บาง
ครั้งก็ลืมตาขึ้น ขณะที่เธอแม้จะหลับตาอยู่ รูปก็ย่อมปรากฏเป็นอย่างเดียวกัน
ทีเดียว เหมือนเมื่อเธอกำลังลืมตาแลดูอยู่ นั้นชื่อว่า ความสำคัญว่าแสงสว่าง
ย่อมเป็นอันได้เกิดแล้ว. แม้คำว่า ทิวาสสญฺญา ก็เป็นชื่อของความสำคัญว่า
แสงสว่างนั้นเหมือนกัน. ก็แต่ว่า ความสำคัญว่าแสงสว่างที่เกิดขึ้นอยู่ในตอน
กลางคืน ย่อมชื่อว่าเป็นอันถือเอาดีแล้ว . แม้คำว่า เป็นอันตั้งมั่นดีแล้ว
ก็เป็นชื่อสำหรับใช้แทนบทนั้นเหมือนกัน . คำว่า อันตั้งมั่นดีแล้ว ได้แก่ตั้ง
มั่นได้เป็นอย่างดีคือ เรียกว่าชื่อว่าตั้งไว้โดยดี. ความสำคัญว่าแสงสว่างนั้น โดย
เนื้อความก็คือความสำคัญชนิดที่ถือเอาไว้แล้วอย่างดีนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุใดบรรเทาถีนมิทธะได้ด้วยแสงสว่าง สร้างความพอใจไห้เกิดขึ้นแล้ว
เอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานอยู่ ความสำคัญว่าแสงสว่างแม้ในกลางวันของภิกษุนั้น
ก็ชื่อว่า เป็นอันถือเอาไว้ดีแล้ว เป็นอันตั้งขึ้นไว้ดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลางคืน
หรือกลางวันก็ตาม ภิกษุใช้แสงสว่างใดบรรเทาถีนมิทธะได้แล้วมาตั้งอกตั้งใจ
ทำกัมมัฏฐานอยู่ ความสำคัญที่เกิดขึ้นในแสงสว่างซึ่งใช้เป็นเครื่องบรรเทา

ถีนมิทธะนั้น ก็ชื่อว่า เป็นอันถือเอาไว้ดีแล้วโดยแท้. แม้ในอิทธิบาทมีวิริยะ
เป็นต้น ก็ทำนองนี้แล. ในสูตรนี้ ทรงแสดงฤทธิ์สำหรับเป็นบาทอภิญญาทั้ง
6 ประการ.
จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ 10
จบอรรถกถาปาสาทกัมปนวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปุพพสูตร 2. มหัปผลสูตร 3. ฉันทสูตร 4. โมคคัลลานสูตร
5. พราหมณสูตร 6. ปฐมสมณพราหมณสูตร 7. ทุติยสมณพราหมณสูตร
8. อภิญญาสูตร 9. เทสนาสูตร 10. วิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.