เมนู

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่.
(พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร)
จบวิภังคสูตรที่ 10
จบปาสาทกัมปนวรรคที่ 2

อรรถกถาวิภังคสูตร



วิภังคสูตรที่ 10.

ในคำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นี้
ภิกษุเมื่อปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วนั่งเอาใจใส่กัมมัฏฐานอยู่ ที่นั้น เธอมี
อาการย่อท้อหยั่งลงในจิต เธอรู้ว่า อาการย่อท้อหยั่งลงในจิตเรา ก็เอาภัยใน
อบายมาข่มจิต ทำให้เกิดความพอใจขึ้นมาอีก แล้วตั้งจิตตั้งใจทำกัมมัฏฐาน.
ที่นั้น เธอเกิดมีอาการย่อท้อหยั่งลงในใจอีก เธอก็ยกเอาภัยในอบายมาข่มจิตอีก
ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกัมมัฏฐานดังว่ามานี้ ความ
พอใจของเธอชื่อว่าย่อมประกอบด้วยความเกียจคร้าน เพราะความที่เธอถูก
ความเกียจคร้านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้. คำว่า สัมปยุตด้วยความเกียจ
คร้าน
เป็นคำที่ใช้แทน คำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นั้นเอง.
ในคำว่า ประกอบด้วยอุทธัจจะ นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้
เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น จิตเธอตกไปในความฟุ้งซ่าน
เธอก็มารำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ทำใจให้ร่าเริง
ให้ยินดี ทำให้ควรแก่การงาน แล้วยังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่อีก แล้วก็