เมนู

มิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะ
เป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท 4 เหล่านี้แล.
จบอภิญญาสูตรที่ 8

9. เทสนาสูตร



แสดงปฏิปทาเข้าถึงอิทธิบาทภาวนา



[1175] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอิทธิ อิทธิบาท อิทธิ
บาทภาวนาและปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง ก็อิทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทาง
กายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.
[1176] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน บรรดาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อม
เป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.
[1177] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท
อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ. . จิตตสมาธิ. . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.
[1178] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน อริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทา
ที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.
จบเทสนาสูตรที่ 9

อรรถกถาเทสนาสูตร



เทสนาสูตรที่ 9.

คำว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาอันใด หมาย
เอาฌานที่ 4 ที่มีอภิญญาเป็นบาท.
จบอรรถกาเทสนาสูตรที่ 9

10. วิภังคสูตร



วิธีเจริญอิทธิบาท 4



[1179] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 เหล่านี้ อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มาnแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท 4 อันภิกษุ
เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธาน
สังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้อง
หลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด
เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้อง
ล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็
ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อม
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและ
ปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง