เมนู

เหล่านี้เรียก ปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขาร
เหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ
และปธานสังขาร.
จบฉันทสูตรที่ 3

อรรถกถาฉันทสูตร



ฉันทสูตรที่ 3.

ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่จะทำ ชื่อว่า ฉันทะ
คำว่า อาศัยแล้ว ได้แก่ทำให้เป็นที่พึงพาอาศัย หมายความว่าทำให้ยิ่งใหญ่
เครื่องปรุงที่เป็นความเพียร ชื่อว่า ปธานสังขาร คำนี้ เป็นชื่อของความ
เพียรที่เรียกชื่อว่า ความเพียรชอบที่ทำหน้าที่สี่อย่างให้สำเร็จ. ความพอใจใน
คำเป็นต้นว่า อิติ อยํ จ ฉนฺโท เป็นฉันทสมาธิประกอบด้วยฉันทะและปธาน
สังขาร แม้ปธานสังขารก็ประกอบด้วยฉันทะและสมาธิ เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงทรงรวมธรรมทั้งหมดนั้นเข้าด้วยกัน แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร. ส่วนในอิทธิบาทวิภังค์
ตรัสถึงธรรมที่หารูปมิได้ที่เหลือซึ่งประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ด้วยนัยเป็นต้นว่า
เวทนาขันธ์ของผู้เช่นนั้นใด ว่าเป็นอิทธิบาท.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งสามอย่าง เป็นทั้งฤทธิ์ เป็นทั้งทางให้ถึงฤทธิ์.
อย่างไร. จริงอยู่ เมื่อเจริญฉันทะ ฉันทะก็ย่อมชื่อว่าเป็นฤทธิ์. สมาธิและ
ปธานสังขาร ก็ย่อมชื่อว่าเป็นทางให้ถึงฤทธิ์. เมื่อเจริญสมาธิ สมาธิก็ย่อม