เมนู

อรรถกถาปฐมวิภังคสูตร



สูตรที่ 9.

ในบทว่า สติเนปกฺเกน นี้ หมายถึง ความเป็น คือ
ปัญญาเครื่องรักษาตัว. คำว่า ปัญญาเครื่องรักษาตัว นี้ เป็นชื่อของปัญญา.
ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเรียกปัญญา ในภาชนะ (ที่รองรับ) แห่ง
สติเล่า. ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงสติที่มีกำลัง จริงอย่างนั้น ในที่นี้ พระองค์
ทรงหมายเอาแต่สติที่มีกำลังเท่านั้น. ก็เมื่อจะทรงแสดงถึงสติที่ประกอบด้วย
ปัญญาว่า สติที่ประกอบด้วยปัญญานั้น เป็นสติที่มีกำลัง ที่ไม่ประกอบด้วย
ปัญญาย่อมไม่มีกำลัง จึงได้ตรัสอย่างนี้. คำว่า จิรกตํ คือ ทาน ศีล
หรืออุโบสถกรรมที่ได้ทำมาสิ้นกาลนานแล้ว. คำว่า จิรภาสิตํ ความว่า ใน
ที่โน้น ได้พูดคำชื่อโน้นเท่านั้น. คำพูดอันบุคคลพึงพูดในเวลาที่นานอย่างนี้.
คำว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺ วา คือ ทำนิพพานเป็นอารมณ์. คำว่า
อุทยตฺถคามินิยา คือ ถึงความเกิดขึ้น และความดับไป หมายความว่า
ที่กำหนดถือเอาทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแต่โลกุตระที่ให้เกิดสัทธินทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันเป็น
ส่วนเบื้องต้น สมาธินทรีย์ที่เจือกับวิริยินทรีย์ไว้เท่านั้น.
จบปฐมวิภังคสูตรที่ 9

10. ทุติยวิภังคสูตร



ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ 5



[864] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[865] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
พระอรหันต์... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[866] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่ง
กุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
อริยสาวกนั้นยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม
ที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิด
ขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[867] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตาม
ระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูดแม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา