เมนู

อรรถกถาอิทธิปาทสังยุต



ปาวาลวรรควรรณนาที่ 11




อรรถกถาอปารสูตร



อิทธิปาทสังยุต อปารสูตรที่ 1.

สมาธิที่อาศัยฉันทะเป็นไป ชื่อว่า
ฉันทสมาธิ พวกสังขารที่เป็นประธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร. คำว่า
สมนฺนาคตํ คือ เข้าถึงด้วยธรรมเหล่านั้น. ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะ
เป็นบาทของฤทธิ์ หรือบาทที่เป็นฤทธิ์. แม้ในพวกคำที่เหลือก็ท่านองนี้แหละ.
นี้เป็นความสังเขปในอิทธิปาทสังยุตนี้. ส่วนความพิสดารมาเสร็จแล้วใน
อิทธิปาทวิภังค์ ส่วนใจความของอิทธิปาทสังยุตนั้น ท่านก็ได้แสดงไว้แล้วใน
วิสุทธิมรรค. ในมรรคสังยุต โพชฌงคสังยุค สติปัฏฐานสังยุต และอิทธิปาท
สังยุตนี้ ก็อย่างนั้น คือเป็นปริจเฉทอย่างเดียวกันโดยแท้.
จบอรรถกถาอปารสูตรที่ 1

2. วิรัทธสูตร



ผู้ปรารภอิทธิบาทชื่อว่าปรารภอริยมรรค



[1109] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
อิทธิบาท 4 อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าปรารภ
อริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท 4 เป็นไฉน ดูก่อน
* พม่า จาปาลวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขาร . . . วิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ . . . วิมังสาสมาธิและปธาน
สังขาร อิทธิบาท 4 เหล่านี้ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น
ก็ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท 4 เหล่านี้
อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบวิรัทธสูตรที่ 2

3. อริยสูตร



เจริญอิทธิบาท 4 เพื่อความสิ้นทุกข์



[1110] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท 4 เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญ
อิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท 4 เป็นไฉน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร...
วิริยสมาธิ.... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อิทธิบาท 4 เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไปเพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบ.
จบอริยสูตรที่ 3