เมนู

ภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่านี้แล (อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต ).
จบคังคาทิเปยยาลที่ 8
จบอินทรียสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สัญโญชนสูตร 2. อนุสยสูตร 3. ปริญญาสูตร 4. อาสวัก-
ขยสู ร 5. ปฐมผลสูตร 6. ทุติยผลสูตร 7. ปฐมรุกขสูตร 8. ทุติย
รุกขสู ร 9. ตติยรุกขสูตร 10. จตุตถรุกขสูตรและอรรถกถา

สัมมัปปธานสังยุต



ว่าด้วยสัมมัปปธาน 4



[1090] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 เหล่านี้. สัมมัปปธาน
4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด
พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น 1 เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 1 เพื่อให้กุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น 1 เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศล
ธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 เหล่านี้แล.

[1091] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน 4 กระทำ
ให้มากซึ่งสัมมัปปธาน 4 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1092] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน 4 กระทำให้
มากซึ่งสัมมัปปธาน 4 อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม
ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศธรรมที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น 1 เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 1 เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น 1 เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน 4 กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน 4 อย่าง
นี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
ปาจีนนินนสูตร 6 สูตร สมุททนินนสูตร 6 สูตร 2 อย่างเหล่านั้น
อย่างละ 6 สูตร รวมเป็น 12 สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค (พึงขยาย
ความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุต ด้วยสามารถสัมมัปปธาน).
จบวรรคที่ 1
1. ตถาคตสูตร 2. ปทสูตร 3. กูฏสูตร 4. มูลสูตร 5. สารสูตร
6. วัสสิกสูตร 7. ราชสูตร 8. จันทิมสูตร 9. สุริยสูตร 10. วัตถสูตร
(พึงขยายความอัปปมาทวรรคทั้ง 10 สูตรด้วยสามารถสัมมัปปธาน)
จบวรรคที่ 2

[1093] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใด
อย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคล
อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัย
ศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน 4 กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน 4
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1094] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง
เจริญสัมมัปปธาน 4 กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน 4 อย่างไรเล่า ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น 1 เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 1 เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น 1
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความ
ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน 4
กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน 4 อย่างนี้แล (พึงขยายความพลกรณียวรรคด้วย
สามารถสัมมัปปธานอย่างนี้)
จบวรรคที่ 3
[1095] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็น
ไฉน คือ การแสวงหากาม 1 การแสวงหาภพ 1 การแสวงหาพรหมจรรย์ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 อย่างนี้แล.
[1096] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา 3 อย่างนี้
สัมมัปปธาน 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา 3 อย่างนี้แล.
[1097] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 นี้
สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน 5 เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 นี้แล.
[1098] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วน
เบื้องบน 5 เหล่านี้แล สัมมัปปธาน 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ
ไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่
เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ในรูป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อ
ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน
4 เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อสิ้นความไป เพื่อ
ละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่านี้แล.
(พึงขยายความออกไป เหมือนเอสนาวรรค)
จบสัมมัปปธานสังยุต
แม้ในสัมมัปปธานสังยุตทั้งสิ้น พระองค์ก็ตรัสแต่วิปัสสนาที่เป็นส่วน
เบื้องต้นทั้งนั้นแล.

พลสังยุต



ว่าด้วยพละ 5



[1099] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ 5ประการนี้. 5 ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาพละ 1 วิริยพละ 1 สติพละ 1 สมาธิพละ 1 ปัญญาพละ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้แล.
[1100] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ 5 กระทำให้
มากซึ่งพละ 5 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1101] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ 5 กระทำให้มากซึ่ง
พละ 5 อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป
สู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยพละ... สติพละ...
สมาธิพละ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ 5 กระทำให้มากซึ่งพละ
5 อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[1102] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5
เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน
5 เหล่านี้แล.