เมนู

ครั้นมาถึงสติปัฏฐาน สตินทรีย์ซึ่งมีการเข้าไปปรากฎเป็นลักษณะเท่านั้น
ที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือต่างก็คล้อยไปตามสตินทรีย์นั้นเหมือน
ในเรือนคนที่ 3 อีก 4 คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวสั่งงาน
ฉะนั้น. ครั้นถึงเรื่องฌาน และวิโมกข์ สมาธินทรีย์ที่มีลักษณะไม่ซัดส่ายเท่านั้น
เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือต่างก็คล้อยไปตามสมาธินทรีย์นั้น เหมือน
ในเรือนคนที่ 4 อีก 4 คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวสั่งงาน
ฉะนั้น. แต่ท้ายสุดเมื่อถึงอริยสัจ ปัญญินทรีย์ที่มีลักษณะรู้ชัดเท่านั้น ย่อมเป็น
ใหญ่เป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือต่างก็คล้อยไปตามปัญญินทรีย์นั้น เหมือนเวลา
ไปถึงพระราชวัง 4 คนนอกนี้ นั่งนิ่ง พระราชาเท่านั้น ย่อมทรงเที่ยวสั่งงาน
ในพระตำหนัก ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ 8

9. ปฐมวิภังคสูตร



ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์



[858] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[859] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป

ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[860] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่ง
กุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[861] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้
ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.
[862] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[863] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิด
ความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า
ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล.
จบปฐมวิภังค์สูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมวิภังคสูตร



สูตรที่ 9.

ในบทว่า สติเนปกฺเกน นี้ หมายถึง ความเป็น คือ
ปัญญาเครื่องรักษาตัว. คำว่า ปัญญาเครื่องรักษาตัว นี้ เป็นชื่อของปัญญา.
ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเรียกปัญญา ในภาชนะ (ที่รองรับ) แห่ง
สติเล่า. ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงสติที่มีกำลัง จริงอย่างนั้น ในที่นี้ พระองค์
ทรงหมายเอาแต่สติที่มีกำลังเท่านั้น. ก็เมื่อจะทรงแสดงถึงสติที่ประกอบด้วย
ปัญญาว่า สติที่ประกอบด้วยปัญญานั้น เป็นสติที่มีกำลัง ที่ไม่ประกอบด้วย
ปัญญาย่อมไม่มีกำลัง จึงได้ตรัสอย่างนี้. คำว่า จิรกตํ คือ ทาน ศีล
หรืออุโบสถกรรมที่ได้ทำมาสิ้นกาลนานแล้ว. คำว่า จิรภาสิตํ ความว่า ใน
ที่โน้น ได้พูดคำชื่อโน้นเท่านั้น. คำพูดอันบุคคลพึงพูดในเวลาที่นานอย่างนี้.
คำว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺ วา คือ ทำนิพพานเป็นอารมณ์. คำว่า
อุทยตฺถคามินิยา คือ ถึงความเกิดขึ้น และความดับไป หมายความว่า
ที่กำหนดถือเอาทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแต่โลกุตระที่ให้เกิดสัทธินทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันเป็น
ส่วนเบื้องต้น สมาธินทรีย์ที่เจือกับวิริยินทรีย์ไว้เท่านั้น.
จบปฐมวิภังคสูตรที่ 9