เมนู

6. ทุติยสามัญญสูตร



ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล


[102] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ
และประโยชน์แห่งสามัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[103] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่าสามัญญะ.
[104] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่ง
สามัญญะ.
จบทุติยสามัญญสูตรที่ 6

7. ปฐมพรหมัญญสูตร



ความเป็นพรหมและเป็นพรหมัญญผล


[105] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ
(ความเป็นพรหม) และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[106] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่าพรหมัญญะ.

[107] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญผลเป็นไฉน คือ โสดา
ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่า พรหมัญญผล.
จบปฐมพรหมัญญสูตรที่ 7

8. ทุติยพรหมัญญสูตร



ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม


[108] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ
และประโยชน์แห่งพรหมัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[109] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่า พรหมัญญะ.
[110] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมัญญะเป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่ง
พรหมัญญะ.
จบทุติยพรหมัญญสูตรที่ 8