เมนู

[75] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่า อสัตบุรุษ.
[76] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
[77] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ รู้ชอบ
พ้นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษ.
จบทุติยอสัปปุริสสูตรที่ 6

7. กุมภสูตร



ว่าด้วยธรรมเครื่องรองรับจิต


[78] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่
ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก
ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มี
เครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.
[79] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่อง
รองรับจิต.
[80] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ
ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมตกลงไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อม
กลิ้งไปได้ยาก.
จบกุมภสูตรที่ 7

8. สมาธิ



ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ


[81] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
อันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[82] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ
พร้อมทั้งเครื่องประกอบเป็นไฉน คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ.
[83] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความ
ที่จิตมีเครื่องประกอบด้วยองค์ 7 ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอัน
ประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้งเครื่องประกอบบ้าง.
จบสมาธิสูตรที่ 8