เมนู

[63] คูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน ความเห็นผิด ฯลฯ
ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม.
[64] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน ความเห็นชอบ
ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม.
จบอกุศลธรรมสูตรที่ 2

3. ปฐมปฏิปทาสูตร



มิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทา


[65] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา
และสัมมาปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[66] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ความเห็นผิด
ฯลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.
[67] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน ความเห็นชอบ
ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.
จบปฐมปฏิปทาสูตรที่ 3

4. ทุติยปฏิปทาสูตร



ว่าด้วยญายธรรม


[68] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉา-
ปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อม
ไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็
มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ความเห็นผิด ฯ ลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า
มิจฉาปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอัน
เป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ.
[69] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอัน
เป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน
ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือ
บรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความ
ปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ.
จบทุติยปฏิปทาสูตรที่ 4