เมนู

[830] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณ
แล้วหลีกไป ภิกษุนั้นเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อัน
ยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นมิได้มี ก็แลภิกษุ
นั้นเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบปาฏิโมกขสูตรที่ 6

อรรถกถาปาฏิโมกขสูตร



ปาฏิโมกขสังวรสูตรที่ 6.

คำว่า ผู้สำรวมด้วยความสำรวม
ในพระปาฏิโมกข์
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงศีลที่
ประเสริฐที่สุดของศีลทั้ง 4 อย่าง จึงได้ตรัสอย่างนั้น. ท่านปีกฏกจุลนาคเถระ
กล่าวว่า ศีล ก็คือการสำรวมในพระปาฏิโมกข์นั่นเอง. ท่านค้านว่า ขึ้นชื่อ
ว่าฐานะที่ว่าอีก 3 ข้อ เป็นศีล ไม่มี เมื่อไม่ยอมเห็นด้วยอย่างเด็ดขาดจึง
กล่าวไว้. มีชื่อว่า อินทรีย์สังวร ก็สักว่าที่เป็นไปในทวาร 6 เท่านั้น อาชีว-
ปาริสุทธิ ก็สักว่าที่เกิดปัจจัยขึ้นโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเท่านั้น.
ชื่อว่า ปัจจัยนิสสิต ก็ตรงที่พิจารณาว่าเพื่อประโยชน์นี้ในปัจจัยที่ได้มาแล้ว
บริโภค (เพราะฉะนั้น) ว่าโดยตรง ศีลก็คือการสำรวมในพระปาฏิโมกข์เท่า
นั้น. ปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใดแตกแล้ว ภิกษุนี้ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า