เมนู

8 ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์
8 ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย. สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว
บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ที่ยังสัตว์ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ที่ยัง
สัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบวิรัทธสูตรที่ 3

4. ภาวนาสูตร



ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง


[802] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง
สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. สติปัฏฐาน 4 เหล่า
นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่
มิใช่ฝั่ง.
จบภาวนาสูตรที่ 4

อรรถกถาอนนุสสุตสูตร



ในวรรคที่ 4 สูตรที่ 5

คำว่า เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว หมายความว่า
พิจารณาเวทนาใดแล้ว จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เวทนาที่ท่านรู้แจ้งแล้ว
นั่นแล ย่อมเกิดขึ้น. เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว
ชื่อว่า ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. ก็แล แม้เวทนาที่เป็นไปในอารมณ์ที่กำหนด
ถือเอาเหล่าใดที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเกิดขึ้น เวทนาที่รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ก็ชื่อว่า
ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. แม้ในเรื่องวิตกเป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ
คำที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอนนุสสุตสูตรที่ 4

5. สติสูตร



ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ


[803] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย. ก็อย่างไรเล่า
ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
* สูตรที่ 5 ถึง 10 ไม่มีอรรถกถาแก้