เมนู

2. วิราคสูตร



เจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อความหน่าย



[800] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านั้น
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมป-
ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย. ก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โดยส่วนเดียว.
จบวิราคสูตรที่ 2

3. วิรัทธสูตร



ว่าด้วยผู้ไม่ปรารภและปรารภอริยมรรค


[801] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเหล่าใดเหล่า
หนึ่งไม่ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อวาไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์

8 ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์
8 ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย. สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว
บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ที่ยังสัตว์ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ที่ยัง
สัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบวิรัทธสูตรที่ 3

4. ภาวนาสูตร



ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง


[802] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง
สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณา