เมนู

ในบทเป็นอาทิว่า ฉนฺโท จ อวูปสนฺโต ความว่า เวทนาอัน
สัมปยุตด้วยจิตประกอบด้วยโลภะ 8 ดวง ย่อมมีในเพราะความไม่สงบแห่ง
ฉันทวิตกและสัญญาทั้งสาม แต่พอฉันทะสงบ เวทนาในปฐมฌาน ก็ย่อมมี
เวทนามีทุติยฌานเป็นต้น ท่านประสงค์แล้วในเพราะความสงบฉันทะและวิตก.
เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะย่อมมีในเพราะความสงบฉันทวิตกและ
สัญญาแม้สามได้. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุอรหัตผล.
บทว่า อตฺถิ วายามํ ได้แก่ มีความเพียร. บทว่า ตสฺมึปิ ฐาเน
อนุปฺปตฺเต
ความว่า เมื่อถึงเหตุแห่งพระอรหัตผล ด้วยสามารถแห่งการ
ปรารภความเพียรนั้น. บทว่า ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ ความว่า เวทนา
ย่อมมีเพราะฐานะเป็นปัจจัยแห่งพระอรหัต เวทนาอันเป็นโลกุตระซึ่งเกิด
พร้อมกับมรรค 4 ท่านถือเอาแล้วด้วยบทนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมวิหารสูตรที่ 1

2. ทุติยวิหารสูตร



เวทนามีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย.


[49] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด 3 เดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอก
จากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรูปพระดำรัสของพระผู้มี
ภาคเจ้าแล้ว ใน 3 เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นอกจาก
ภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.
[50] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วง
ไป 3 เดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่ง
วิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย
บ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย
บ้าง เพราะความเห็นชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ เพราะความตั้งใจผิดเป็น
ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็น
ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็น
ปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ
ฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบ
เป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะ
นั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.
จบทุติยวิหารสูตรที่ 2

อรรถกถาวิหารสูตร



พึงทราบวินิจฉัยวิหารสูตรที่ 2.
เหตุแห่งการหลีกเร้น พึงทราบโดยนัยอันท่านกล่าวแล้วนั่นแล. บท
ว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิวูปสมปจฺจยา ได้แก่ ความเห็นชอบ ชื่อว่า เข้าไปสงบซึ่ง
ความเห็นผิด. เพราะฉะนั้น เวทนาใดท่านกล่าวแล้ว เพราะความเห็นชอบ
เป็นปัจจัย. เวทนานั้นแล ท่านพึงทราบ เพราะสงบความเห็นผิดเป็นปัจจัย.
ส่วนในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า ผู้สำคัญซึ่งเวทนาอันเป็นวิบาก ย่อมไม่ถือเอา
ในที่ไกลเกินไป. ในบททุกบท พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้. ก็เวทนาท่าน