เมนู

ในบทเป็นอาทิว่า ฉนฺโท จ อวูปสนฺโต ความว่า เวทนาอัน
สัมปยุตด้วยจิตประกอบด้วยโลภะ 8 ดวง ย่อมมีในเพราะความไม่สงบแห่ง
ฉันทวิตกและสัญญาทั้งสาม แต่พอฉันทะสงบ เวทนาในปฐมฌาน ก็ย่อมมี
เวทนามีทุติยฌานเป็นต้น ท่านประสงค์แล้วในเพราะความสงบฉันทะและวิตก.
เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะย่อมมีในเพราะความสงบฉันทวิตกและ
สัญญาแม้สามได้. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุอรหัตผล.
บทว่า อตฺถิ วายามํ ได้แก่ มีความเพียร. บทว่า ตสฺมึปิ ฐาเน
อนุปฺปตฺเต
ความว่า เมื่อถึงเหตุแห่งพระอรหัตผล ด้วยสามารถแห่งการ
ปรารภความเพียรนั้น. บทว่า ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ ความว่า เวทนา
ย่อมมีเพราะฐานะเป็นปัจจัยแห่งพระอรหัต เวทนาอันเป็นโลกุตระซึ่งเกิด
พร้อมกับมรรค 4 ท่านถือเอาแล้วด้วยบทนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมวิหารสูตรที่ 1

2. ทุติยวิหารสูตร



เวทนามีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย.


[49] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด 3 เดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอก
จากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรูปพระดำรัสของพระผู้มี
ภาคเจ้าแล้ว ใน 3 เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นอกจาก
ภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.
[50] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วง
ไป 3 เดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง