เมนู

อรรถกถาคิลานสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในคิลานสูตรที่ 9.
บทว่า เวลุวคามเก ความว่า มีปารคามอยู่แห่งหนึ่ง มีชื่ออย่างนี้
ใกล้กรุงเวสาลี. ณ ปารคามนั้น. ในบทว่า ยถามิตฺตํ เป็นต้น ได้แก่
มิตรทั้งหลาย. บทว่า สนฺทิฏฺฐํ ความว่า เพื่อนแรกพบร่วมกันในที่นั้น ๆ
จัดเป็นมิตรที่ไม่มั่นคงนัก. บทว่า สมฺภตฺตํ ความว่า เพื่อนคบกันดี
มีความเยื่อใย จัดเป็นมิตรมั่นคง. อธิบายว่า พวกเธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษา
ในที่มีภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้นอยู่เถิด. ถามว่า ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพื่อยู่ผาสุกของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
ได้ยินว่า ในเวฬุวคาม เสนาสนะไม่พอสำหรับภิกษุเหล่านั้น ทั้ง
ภิกษาก็น้อย แต่โดยรอบกรุงเวสาลี มีเสนาสนะมาก ทั้งภิกษาก็หาได้ง่าย
เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงปล่อย
ไปว่า เธอทั้งหลาย จงไปตามสบายเถิด. ตอบว่า เพื่อนุเคราะห์ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้น. ได้ยินว่า พระองค์ได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า เราดำรงอยู่เพียงกึ่งเดือน
จักปรินิพพาน. ถ้าภิกษุทั้งหลาย จักไปไกลเรา เธอทั้งหลายจักไม่อาจเห็นเรา
ในเวลาปรินิพพาน. ครั้งนั้น พวกเธอพึงมีความเดือดร้อนว่า เมื่อพระศาสดา
ปรินิพพานไม่ได้ประทานแม้เพียงสติแก่เราทั้งหลาย ถ้าเราทั้งหลายพึงรู้ ก็
ไม่พึงอยู่ไกลอย่างนี้. แต่เมื่อเธอทั้งหลายอยู่รอบกรุงเวสาลี จักมาฟังธรรม
เดือนละ 8 ครั้ง ก็ได้โอวาทของสุคต ดังนี้ จึงไม่ทรงปล่อย.

บทว่า ขโร ได้แก่ กล้าแข็ง. บทว่า อาพาโธ ได้แก่ โรค
ที่เป็นวิสภาคะ. บทว่า พาฬฺหา แปลว่า มีกำลัง. บทว่า มรณนฺติกา ได้แก่
สามารถจะให้ถึงตาย คือใกล้ตายได้. บทว่า สโต สมฺปชาโน อธิวาเสติ
ความว่า ทรงดำรงพระสติไว้ดี กำหนดด้วยญาณทรงอดกลั้น. บทว่า
อวิหญฺญมโน ความว่า ไม่ทรงกระสับกระส่ายไปตามอำนาจเวทนา คือ
ทรงอดกลั้นไว้ไม่ให้ถูกเวทนาเบียดเบียน และไม่ให้เกิดทุกข์. บทว่า อนามนฺ-
เตตฺวา
คือไม่บอกภิกษุให้รู้ และไม่เผดียงภิกษุสงฆ์ให้รู้ ท่านอธิบายว่า
ไม่ประทานโอวาทานุสาสนี. บทว่า วิริเยน ได้แก่ ด้วยความเพียรเป็น
บุรพภาค และด้วยความเพียรเป็นผลสมาบัติ. บทว่า ปฏิปณาเมตฺวา คือ
ข่มไว้. ในบทว่า ชีวิตสํขารํ นี้ แม้ชีวิตจัดเป็นชีวิตสังขาร. ชีวิตอันบุคคล
ปรับปรุง คือต่อชีวิตที่กำลังขาด ดำรงอยู่ได้ด้วยธรรมคือผลสมาบัติใด แม้
ธรรมคือผลสมาบัตินั้น ก็จัดเป็นชีวิตสังขาร. ชีวิตสังขารนั้น ทรงประสงค์
ในที่นี้. บทว่า อธิฏฺฐาย ความว่า เราพึงเข้าผลสมาบัติ อันสามารถ
อธิษฐานเหตุให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ดังนี้. นี้ความสังเขปในข้อนี้.
ถามว่า ก็ก่อนแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงเข้าผลสมาบัติหรือ.
ตอบว่า ทรงเข้า. แต่สมาบัตินั้น เป็นขณิกสมาบัติ ก็ขณิกสมาบัติ ย่อม
ข่มเวทนาได้ ในภายในสมาบัติเท่านั้น พอออกจากสมาบัติแล้ว เวทนาย่อม
ครอบงำสรีระอีก เหมือนสาหร่ายขาดจากกัน เพราะไม้ขอนตก หรือเพราะ
หินตก แล้วก็ปกคลุมน้ำอีก ฉะนั้น. สมาบัติที่เข้าด้วยอำนาจมหาวิปัสสนา
*ทำหมวด 7 แห่งรูป *และหมวด 7 แห่งอรูป มิให้เป็นกอ มิให้เป็นชัฏใด
สมาบัตินั้น ย่อมข่มไว้ด้วยดี. เมื่อออกจากสมาบัตินั้นแล้วนาน เวทนาจึงจะ
เกิดขึ้นได้ เหมือนสาหร่ายที่ใช้ให้คนลงสู่สระโบกขรณีเอามือและเท้าแยก
* ดูในวิสุทธิมรรคบาลีภาค 3 ตอนมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

ไม่ให้ประชิดกันด้วยดี นานจึงจะปกคลุมน้ำได้ ฉะนั้น. ด้วยประการอย่างนั้น
ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำหมวด 7 แห่งรูป และหมวด 7 แห่ง
อรูป มิให้เป็นกอ มิให้เป็นชัฏ เหมือนแรกตั้งวิปัสสนาใหม่ ๆ ณ มหา-
โพธิบัลลังก์ ไหลไปด้วยอาการ 14 ทรงข่มเวทนาด้วยมหาวิปัสสนา ทรงเข้า
สมาบัติด้วยทรงดำริว่า ตลอด 10 เดือน เวทนาอย่าเกิดขึ้นเลย ดังนี้.
เวทนาอัน สมาบัติข่มไว้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ตลอด 10 เดือน. บทว่า คิลานา วุฏฺฐิโต
ได้แก่ ประชวรแล้ว หายประชวรอีก.
บทว่า มธุรกชาโต วิย ความว่า เกิดความหนัก เกิดความ
กระด้าง เหมือนถูกคนเงื้อหลาวขึ้นให้สะดุ้ง. บทว่า น ปกฺขายนฺติ ได้แก่
ย่อมไม่ประกาศ คือ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุต่าง ๆ. บทว่า ธมฺมาปิ
มํ นปฺปฏิภนฺติ ท่านแสดงว่า สติปัฏฐานธรรม ย่อมไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์.
ส่วนธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นความคล่องแคล่วด้วยดีของพระเถระ. บทว่า
น อุทาหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังไม่ประทานปัจฉิมโอวาท
ท่านพระอานนท์ กล่าวหมายถึงข้อนั้น.
บทว่า อนนฺตรํ อพาหิรํ ความว่า ก็ภิกษุเมื่อไม่ทำธรรมทั้งสอง
ด้วยอำนาจธรรม หรือด้วยอำนาจบุคคล คิดว่า เราจักไม่แสดงธรรมประมาณ
เท่านี้ ชื่อว่า กระทำธรรมให้มีในภายใน. เมื่อคิดว่า จักแสดงธรรมประมาณ
เท่านี้แก่คนอื่น ชื่อว่า กระทำบุคคลให้มีในภายนอก. แต่เมื่อคิดว่าจักแสดง
แก่บุคคลอื่น ชื่อว่า กระทำบุคคลให้มีในภายใน. เมื่อคิดว่า จักไม่แสดง
แก่บุคคลนี้ ชื่อว่า กระทำบุคคลให้ในภายนอก. อธิบายว่า เราไม่ทำอย่างนั้น
แสดงธรรม. บทว่า อาจริยมุฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่า กำมืออาจารย์ย่อมมี
สำหรับพวกคนภายนอก. ในเวลาหนุ่ม ท่านไม่กล่าวแก่ใคร ในปัจฉิมกาล

เมื่อนอนบนเตียงเป็นที่ตาย จึงกล่าวแก่อันเตวาสิกผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ
ท่านแสดงว่า พระตถาคตไม่มีคำอะไร ที่จะกำมือเก็บไว้อย่างนั้นว่า เราจักกล่าว
คำนี้ ในเวลาแก่ ในเวลาครั้งสุดท้าย ดังนี้.
บทว่า อหํ ภิกฺขุสงฺฆํ ความว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์หรือ.
บทว่า มมุทฺเทสิโก ความว่า หรือว่า เราชื่อว่า มมุทเทสิกะ เพราะ
วิเคราะห์ว่า มีความเชิดชู ด้วยอรรถว่า อันภิกษุสงฆ์พึงเชิดชู ขอภิกษุสงฆ์
จงหวังเรา เฉพาะเราเท่านั้น จะเป็นเรื่องใด เรื่องหนึ่งก็ตาม อย่าล่วงเราไป
อธิบายว่า ก็หรือว่าแก่คนใด คนหนึ่ง. บทว่า น เอวํ โหติ ความว่า
ตถาคตย่อมไม่มีอย่างนี้ เพราะอิสสาและมัจฉริยะทั้งหลาย หมดสิ้นแล้ว ณ
โพธิบัลลังก์นั่นแล. บทว่า ส กึ แปลว่า นั้นอะไร. บทว่า อสีติโก
ความว่า วัย 80 ปี. คำนี้ ตรัสเพื่อทรงแสดงถึงวัยที่ผ่านมาตามลำดับถึง
ปัจฉิมวัย. บทว่า เวฬุมิสฺสเกน ความว่า เพราะซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่อัน
ปรับปรุงด้วยเครื่องผูกที่ทูบ และที่ล้อเป็นต้น. บทว่า มญฺเญ ยาเปติ
ท่านแสดงว่า การก้าวไปด้วยอิริยาบถ 4 ย่อมมีแก่ตถาคต เพราะผูกด้วย
พระอรหัตผล เหมือนเกวียนเก่ายังเป็นไปได้ เพราะซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่
ฉะนั้น.
บัดนี้ เมื่อพระองค์ทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ยสฺมึ อานนฺท สมเย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ
ได้แก่ รูปนิมิตเป็นต้น . บทว่า เอกจฺจานํ เวทนานํ ได้แก่ โลกิยเวทนา.
บทว่า ตสฺมาติหานนฺท ท่านแสดงว่า เพราะความผาสุกย่อมมีได้ ด้วย
ผลสมาบัติวิหารนี้. ฉะนั้น แม้เธอทั้งหลายจงอยู่อย่างนี้ เพื่อประโยชน์แก่
ความอยู่ผาสุกนั้นเถิด. บทว่า อตฺตทีปา ความว่า เธอทั้งหลาย จงทำตน
ให้เป็นเกาะคือเป็นที่พึ่งอยู่เถิด เหมือนคนอยู่ในมหาสมุทร ทำเกาะอาศัยอยู่

ฉะนั้น. บทว่า อตฺตสรณา ความว่า เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นคติ อย่า
มีคนอื่นเป็นคติเลย. แม้ในบทมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ก็นัยนี้
นั่นแล. ก็โลกุตรธรรม 9 อย่าง พึงทราบว่า ธรรมในบทนี้. บทว่า
ตมตคฺเคเม เต ตัดบทเป็น ตมอคฺเค ต อักษร ในท่ามกลางท่านกล่าว
ด้วยสามารถการเชื่อมบท. มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านี้ ชื่อว่า ตมตัคคา เพราะ
อรรถว่า มีความมืดเป็นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเทศนาด้วยธรรม
อันเป็นยอด คือพระอรหัตว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นของเรา
ตัดกระแสแห่งความมืดได้ทั้งหมดอย่างนี้แล้ว จักเป็นผู้เลิศ คือส่วนสงสุด
เกินเปรียบ คือจักเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา และภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีสติปัฏฐาน 4 เป็นอารมณ์
จักเป็นผู้เลิศ ดังนี้.
จบอรรถกถาคิลานสูตรที่ 9

10. ภิกขุนีสูตร



ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 ย่อมรู้คุณวิเศษ


[714] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักของนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดไว้. ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้ท่าน
พระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงพูดกะท่าน
พระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมีมากรูปในธรรมวินัยนี้