เมนู

อรรถกถามักกฏสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมักกฏสูตรที่ 7.
บทว่า ทุคฺคา แปลว่า ไปยาก. บทว่า จารี แปลว่า เป็นที่
เที่ยว. บทว่า เลปํ โอฑฺเฑนฺติ ความว่า พวกพรานทำตังผสมด้วยยาง
ต้นไทรย้อยเป็นต้น กำหนดว่า ที่นั้นๆ เป็นที่เดินประจำของพวกลิง ดังนี้
แล้ววางไว้ที่กิ่งต้นไม้เป็นต้น. บทว่า ปญฺโจฑฺฑิโต ความว่า ลิงถูกตรึง
ในที่ทั้ง 5 เหมือนสาแหรกอันตนสอดไม้คานเข้าไปแล้ว จับไว้ฉะนั้น. บทว่า
ถุนํ เสติ ได้แก่ นอนถอนใจอยู่.
จบอรรถกถามักกฏสูตรที่ 7

8. สูทสูตร



ว่าด้วยการสำเหนียกและไม่สำเหนียกนิมิต


[704] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด
เฉียบแหลม บำรุงพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด
มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง
ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง. พ่อครัวนั้น. . . ไม่สังเกตรสอาหารของตน
ว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือ
ท่านหยิบสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยว
จัด ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรส

เปรี้ยวจัดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรส
ขมจัด . . . มีรสเผ็ดจัด. . . มีรสหวานจัด .. . มีรสเฝื่อน. . . มีรสไม่เฝื่อน
. . . มีรสเค็ม. . . วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่าน
รับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด
ดังนี้. พ่อครัวนั้น. . . ย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้รางวัล.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่
สังเกตเครื่องหมายอาหารของตน ฉันใด.
[705] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่
สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ .. . ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ .. . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียก
นิมิตนั้น. ภิกษุนั้น ... ย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ
ไม่ได้สติสัมปชัญญะ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่
ฉลาดเฉียบแหลม ไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.
[706] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาด
เฉียบแหลม บำรุงพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด
มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง
ไม่เฝื่อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นย่อมสังเกตรสอาหารของตนว่า
วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือหยิบ

เอาสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด . . .
วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสขมจัด... มีรสเผ็ดจัด. . . มีรสหวานจัด...
มีรสเฝื่อน... มีรสไม่เฝื่อน... มีรสเค็ม . . วันนี้ ภัตและสูปะของเรามี
รสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก
หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ค่าจ้าง
ได้รางวัล. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาด
เฉียบแหลม สังเกตรสอาหารของตน ฉันใด.
[707] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้เป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อ
เธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม
สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่. . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อมสำเหนียกใน
นิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สละได้สติ
สัมปชัญญะ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา ฉลาด
เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.
จบสูทสูตรที่ 8

อรรถกถาสูทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูทสูตรที่ 8
บทว่า สูโท แปลว่า คนทำกับข้าว. บทว่า นานจฺจเยหิ คือ
ต่างชนิด อธิบายว่า ต่างอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้ก็เหมือนกัน. บทว่า
อมฺพิลคฺเคหิ ได้แก่ มีส่วนเปรี้ยว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล. บทว่า อภิหรติ
ได้เเก่ เหยียดมือออกเพื่อต้องการรับ. บทว่า พหุํ คณฺหาติ ความว่า
เมื่อรับมากโดยรับครั้งเดียวก็ดี รับบ่อย ๆ ก็ดี ก็ชื่อว่า รับมากอยู่นั่นเอง.
บทว่า อภิหารานํ ความว่า รางวัลที่เขายกขึ้นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งนำไป.
บทว่า อุปกฺลิเลสา ได้แก่ นิวรณ์ 5 อย่าง. บทว่า นิมิตฺตํ น อุคฺคณฺหาติ
ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ว่า กัมมัฏฐานนี้ของเรา จดถึงอนุโลมญาณ หรือ
โคตรภูญาณแล้วดังนี้ ย่อมไม่สามารถจะจับนิมิตแห่งจิตของตนได้. ในพระ-
สูตรนี้ พระองค์ตรัสสติปัฏฐานอันเป็นบุพภาควิปัสสนาแล.
จบอรรถกถาสูทสูตรที่ 8