เมนู

อรรถกถามักกฏสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมักกฏสูตรที่ 7.
บทว่า ทุคฺคา แปลว่า ไปยาก. บทว่า จารี แปลว่า เป็นที่
เที่ยว. บทว่า เลปํ โอฑฺเฑนฺติ ความว่า พวกพรานทำตังผสมด้วยยาง
ต้นไทรย้อยเป็นต้น กำหนดว่า ที่นั้นๆ เป็นที่เดินประจำของพวกลิง ดังนี้
แล้ววางไว้ที่กิ่งต้นไม้เป็นต้น. บทว่า ปญฺโจฑฺฑิโต ความว่า ลิงถูกตรึง
ในที่ทั้ง 5 เหมือนสาแหรกอันตนสอดไม้คานเข้าไปแล้ว จับไว้ฉะนั้น. บทว่า
ถุนํ เสติ ได้แก่ นอนถอนใจอยู่.
จบอรรถกถามักกฏสูตรที่ 7

8. สูทสูตร



ว่าด้วยการสำเหนียกและไม่สำเหนียกนิมิต


[704] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด
เฉียบแหลม บำรุงพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด
มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง
ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง. พ่อครัวนั้น. . . ไม่สังเกตรสอาหารของตน
ว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือ
ท่านหยิบสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยว
จัด ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรส