เมนู

อรรถกถาสกุณัคฆีสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสกุณัคฆีสูตรที่ 6.
บทว่า สกุณคฺฆิ ได้แก่ ชื่อว่า สกุณัคฆิ เพราะอรรถว่า ฆ่านก.
คำนั่นเป็นชื่อของเหยี่ยว. บทว่า สหสา อชฺฌปฺปตฺตา ได้แก่ โฉบลง
โดยเร็ว เพราะความโลภ. บทว่า อลกฺขิกา ได้แก่เป็นผู้หมดสิริ. บทว่า
อปฺปปุญฺญา แปลว่า เป็นผู้มีบุญน้อย. บทว่า สจชฺช มยํ ตัดบทเป็น
สเจ อชฺช มยํ ถ้าวันนี้เรา. บทว่า นงฺคลกฏฐกรณํ ได้แก่ การทำนา
ด้วยไถ คือไถใหม่ ๆ อธิบายว่าทำนา. บทว่า เลณฺฑุฏฺฐานํ แปลว่า ที่แตก
ระแหง. บทว่า อวาทมานา คือเหยี่ยวเมื่อหยิ่ง อธิบายว่า กล่าวสรรเสริญ
กำลังของตนด้วยดี. บทว่า มหนฺตํ เลณฺฑุํ อภิรุหิตฺวา ความว่า นกมูลไถ
กำหนดที่ก้อนดิน 3 ก้อน ตั้งอยู่ โดยสัณฐานดังเตาไฟว่า เมื่อเหยี่ยวบิน
มาข้างนี้เราจักหลีกไปข้างโน้น เมื่อบินมาข้างโน้น เราจักหลีกไปข้างนี้ ดังนี้
ขึ้นก้อนดินก้อนหนึ่ง ในก้อนดิน 3 ก้อนเหล่านั้น ยืนท้าอยู่. บทว่า สนฺธาย
ได้แก่ หลุบปีกดุจลู่อก คือตั้งไว้ด้วยดี. บทว่า พหุ อาคโต โข มยายํ
ความว่า นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้มาสู่ที่ไกลกว่าเพื่อต้องการเรา บัดนี้จักจับเรา
ไม่ให้เหลือแต่น้อย ดังนี้ จึงหลบเข้าไปในระหว่างดินนั้นแล คล้ายน้ำอ้อยงบ
ติดอยู่ที่พื้น. บทว่า อุรํ ปจิจตาเฬสิ ความว่า เหยี่ยวเมื่อไม่สามารถดำรง
ความเร็วไว้ได้ เพราะแล่นไปด้วยติดว่า เราจักจับตัดหัวของนกมูลไถครั้งเดียว
กระแทกอกที่ดินนั้น ในทันใดนั้นเอง หัวใจของมันแตกแล้ว ครั้งนั้น นก
มูลไถร่าเริงยินดี ว่าเราเห็นหลังของศัตรู ดังนี้ จึงเดินไปมาตรงหัวใจ
ของเหยี่ยวนั้น.
จบอรรถกถาสกุณัคฆีสูตรที่ 6