เมนู

อรรถกถาอานาปานาทิเปยยาลที่ 7*



อรรถกถาอัฏฐิกสัญญา



พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐิกสัญญา ในอานาปานวรรคที่ 7 เป็นต้น.
บทว่า อฏฺฐิกสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
กระดูก กระดูก ดังนี้. ก็เมื่อเจริญอัฏฐิกสัญญานั้นอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี
ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนิมิตเกิดขึ้น ผิวและหนังย่อม
ไม่ปรากฏเลย. อนึ่ง โครงกระดูก. ล้วนมีสีดุจสังข์ ย่อมปรากฏ ดังที่ปรากฏ
แก่สามเณรผู้แลดูพระเจ้าติสสะ ผู้ทรงธรรมอยู่บนคอข้าง และแก่พระติสสเถระ
ผู้อยู่ที่เจติยบรรพต ผู้แลดูหญิงกำลังหัวเราะในที่สวนทาง. เรื่องทั้งหลาย
ขยายให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า
เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่.
จบอรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

ว่าด้วยปุฬุวกสัญญา


บทว่า ปุฬุวกสญฺญ ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
มีหนอน. แม้ในบทว่า วินีลกสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . ส่วนในข้อนี้
เรื่องวินิจฉัยกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคกับนัยภาวนา. พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น
พึงทราบด้วยอำนาจฌานหมวด 3-4. อุเบกขา ด้วยอำนาจฌานที่ 4 แล.
จบอรรถกถาปุฬุวกสัญญา
* อรรถกถาเป็นวรรคที่ 7

ว่าด้วยอสุภสัญญาเป็นต้น



บทว่า อสุภสญฺญา ได้แก่ ปฐมฌานสัญญาในอสุภะ. บทว่า
มรณสญฺญา ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาอยู่เนือง ๆ ว่า เราต้อง
ตายแน่ ชีวิตของเราเนืองด้วยความตาย. บทว่า อาหาเร ปฏิกูลสญฺญา
ความว่า ในข้าวสุกและขนมสดเป็นต้น เป็นปฏิกูลสัญญา สำหรับผู้กลืนกินเท่า
นั้น. บทว่า สพฺพโลเก อนภีรตสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ให้
ความไม่ยินดีเกิดขึ้นอยู่ในโลกทั้งสิ้น.
บุพภาค 2 คือ ปหานสัญญา วิราคสัญญา คือ คลุกเคล้าด้วย
นิโรธสัญญา. ท่านแสดงกัมมัฏฐาน 20 มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้นเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนั้นแล. กัมมัฏฐาน 20 เหล่านั้น 9 เป็นอัปปนา 11 เป็น
อุปจารฌาน. ส่วนในข้อนี้ เรื่องวินิจฉัยที่เหลือมาแล้วในวิสุทธิมรรคแล.
คงคาเปยยาลเป็นต้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้ว ในมรรคสังยุตแล.
จบอรรถกถาโพชฌงค์สังยุต
ในอรรถกลาสังยุตตนิกายชื่อสารัตถปกาสินี.