เมนู

[626] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว สคารวพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสคารวสูตรที่ 5

อรรถกถาสคารวสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสคารวสูตรที่ 5.
บทว่า ปเคว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า กามราคปริยุฏฺฐิเตน
ได้แก่ อันกามราคะเหนี่ยวไว้. บทว่า กามราคปเรเตน ได้แก่ ไปตาม
กามราคะ. บทว่า นิสฺสรณํ ความว่า อุบายเครี่องสลัดออกซึ่งกามราคะ
มี 3 อย่างคือ วิกขัมภนนิสสรณะ สลัดออกด้วยการข่มไว้ ตทังคนิสสรณะ
สลัดออกชั่วคราว สมุจเฉทนิสสรณะ สลัดออกได้เด็ดขาด. ในอุบายเครื่อง
สลัดออก 3 อย่างนั้น ปฐมฌานในอสุภะ ชื่อว่า สลัดออกด้วยการข่มไว้.
วิปัสสนา ชื่อว่า สลัดออกได้ชั่วคราว อรหัตมรรค ชื่อว่า สลัดออกได้
เด็ดขาด. อธิบายว่า เขาย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกแม้สามอย่างนั้น. ใน
บทว่า อตฺตตฺถมฺปีติ เป็นต้น ประโยชน์คนกล่าวคืออรหัต ชื่อว่า ประโยชน์
ของตน. ประโยชน์ของผู้ถวายปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า ประโยชน์ของคนอื่น.
ประโยชน์แม้สองอย่างนั้นแล ชื่อว่า ประโยชน์ทั้งสอง ในวาระทั้งปวง
พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้.

ส่วนความต่างกันดังนี้ ก็ในบทว่า พฺยาปาทสฺส นิสฺสรณํ เป็นต้น
มีอุบายเครื่องสลัดออกสองอย่าง คือ วิกขัมภนนิสสรณะ การสลัดออกด้วย
การข่มไว้ และสมุจเฉทนิสสรณะ การสลัดออกได้เด็ดขาด ในอุบายทั้ง 2
นั้น ปฐมฌานในเมตตา สลัดพยาบาทออกได้ด้วยการข่ม. อนาคามิมรรค
สลัดพยาบาทออกได้เด็ดขาด. อาโลกสัญญา สลัดถีนมิทธะออกได้ด้วยการข่ม
อรหัตมรรค สลัดออกได้เด็ดขาด. สมถกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง สลัด
อุทธัจจกุกกุจจะออกได้ด้วยการข่ม. ส่วนในอุทธัจจกุกกุจจะนี้ อรหัตมรรค
เป็นเครื่องสลัดอุทธัจจะออกได้เด็ดขาด. อนาคามิมรรค เป็นเครื่องสลัด
กุกกุจจะออกได้เด็ดขาด. การกำหนดธรรมเป็นเครื่องสลัดวิจิกิจฉาออกได้
ด้วยการข่ม ปฐมมรรค เป็นเครื่องสลัดออกได้เด็ดขาด.
ส่วนในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมามีบทว่า เสยฺยถาปิ
พฺราหฺมณ อุทปตฺโต สํสฏฺโฐ ลาขาย วา
เป็นต้นใด ในอุปมาเหล่านั้น
บทว่า อุทปตฺโต ได้แก่ ภาชนะเต็มด้วยน้ำ. บทว่า สํสฏฺโฐ ได้แก่
ระคนด้วยอำนาจทำสีให้ต่างกัน . บทว่า อุสฺมาทกชาโต คือมีไอพลุ่งขึ้น
บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺโธ ความว่า อันสาหร่ายอันต่างด้วยพืชงา
เป็นต้น หรืออันจอกแหนมีสีหลังเขียวเกิดขึ้นปิดหลังน้ำปกคลุมไว้ บทว่า
วาเตริโต ได้แก่ ถูกลมพัดหวั่นไหว. บทว่า อาวิโล คือ ไม่ใส บทว่า
ลุฬิโต คือ ไม่นิ่ง. บทว่า กลลีภูโต คือ เปือกตม. บทว่า อนฺธกเร
นิกฺขตฺโต ได้แก่ อันบุคคลวางไว้ในที่ไม่สว่าง มีระหว่างฉางเป็นต้นเป็น
ประเภท. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกลับเทศนาจากภพทั้งสาม
แล้วทรงให้เทศนาจบลงด้วยธรรมอันเป็นยอดคืออรหัต. ส่วนพราหมณ์ตั้ง
อยู่แล้วในทางอันสงบ.
จบอรรถกถาสคารวสูตรที่ 5

2. อภยสูตร



ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุมีปัจจัย


[627] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
[628] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุรณกัสสปกล่าวอย่างนั้นว่า เหตุไม่มี
ปัจจัยไม่มี เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ไม่
มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้
ความเห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ดังนี้. ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้อย่างไร.
[629] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนราชกุมาร เหตุมี
ปัจจัยมี เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ
มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น
มีเหตุ มีปัจจัย.
[630] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน
เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย
อย่างไร.
[631] พ. ดูก่อนราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย
กามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็นเครื่อง