เมนู

อรรถกถาหมวดที่ 6 แห่งโพชฌงค์*



อรรถกถาอาหารสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอาหารสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 6
ในบทว่า อยมาหาโร อนุปฺปนฺนสฺส วา สติสมฺโพชฺฌงฺคสฺส
อุปฺปาทาย
เป็นต้น นี้เป็นความต่างกันจากนัยก่อน. ธรรมเหล่านั้น มี
ประการอันกล่าวแล้ว เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น อย่างเดียว
เท่านั้น ก็หามิได้ ย่อมเป็นปัจจัยเพื่อความเจริญเต็มที่แห่งโพชฌงค์ทั้งหลาย
ที่เกิดแล้วด้วย ส่วนธรรมแม้เหล่าอื่น พึงทราบอย่างนั้นแล.
ส่วนธรรมอื่นอีก 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัม-
โพชฌงค์ คือ สติสัมปชัญญะ 1 การหลีกเว้นคนลืมสติ 1 ความคบบุคคล
มีสติตั้งมั่น 1 ความน้อมจิตไปในธรรมนั้น 1.
ก็สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ 7 มีการก้าวไปเป็นต้น ด้วย
สติสัมปชัญญะ ด้วยการหลีกเว้นคนลืมสติ เช่นกาทิ้งเหยื่อ ด้วยคบคนมีสติ
ตั้งมั่น เช่นพระติสสทัตตเถระและพระอภัยเถระเป็นต้น และด้วยมีจิตน้อมไป
โน้มไป โอนไป เพื่อให้เกิดขึ้นในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ส่วน
สติสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดขึ้นด้วยเหตุ 4 ประการ อย่างนี้แล้ว ย่อมเจริญ
เต็มที่ด้วยอรหัตมรรค.
ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัม-
โพชฌงค์ คือ ความเป็นผู้ไต่ถาม 1 ความทำวัตถุให้สละสลวย 1 การปรับ
อินทรีย์ให้เสมอกัน 1 การหลีกเว้นบุคคลทรามปัญญา 1 การคบหาบุคคลมี
*อรรถกถาใช่ว่า วรรคที่ 6.

ปัญญา 1 การพิจารณาปาฐะที่ต้องใช้ปัญญาอันลึก 1 ความน้อมจิตไปในธัมม-
วิจยะนั้น 1.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปุจุฉกตา ได้แก่ ความเป็นผู้มาก
ด้วยการไต่ถามถึงที่อาศัยของอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ องค์มรรค ฌาน สมถะและวิปัสสนา. บทว่า วตฺถุวิสทกิริยา
ได้แก่ การทำวัตถุทั้งหลายภายในและภายนอกให้สดใส. ก็เมื่อใด ผม เล็บ
ขนของพระโยคาวจรนั้นยาว หรือว่าร่างกายมีโทษมาก และเปื้อนด้วยเหงื่อไคล
เมื่อนั้น ชื่อว่า วัตถุภายในไม่สดใสคือไม่หมดจด. ก็เมื่อใด จีวรคร่ำคร่า
เปื้อนเปรอะ เหม็นสาบ หรือว่า เสนาสนะรกเรื้อ เมื่อนั้นชื่อว่า วัตถุ
ภายนอกไม่สดใส คือไม่สะอาด. เพราะฉะนั้น ควรทำวัตถุภายในให้สดใส
ด้วยการตัดผมเป็นต้น ด้วยการทำให้ร่างการเบาด้วยการถ่ายยาทั้งเบื้องบนและ
เบื้องล่าง และด้วยการถูและอาบน้ำ. ควรทำวัตถุภายนอกให้สดใส ด้วยทำ
สูจิกรรม การซัก และของใช้เป็นต้น. แม้ญาณในจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นใน
วัตถุภายในและภายนอกนั้นอันไม่สดใส ก็ไม่บริสุทธิ์ไปด้วย ดุจแสงของ
เปลวประทีปที่อาศัยโคม ไส้และน้ำมัน ไม่สะอาดเกิดขึ้น ก็ไม่สะอาดไปด้วย
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทำวัตถุให้สละสลวย ย่อมเป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้.
การทำอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่า การปรับ
อินทรีย์ให้เสมอกัน. เพราะว่า ถ้าสัทธินทรีย์ของเธอแก่กล้า อินทรีย์นอกนี้
อ่อน. ทีนั้น วิริยินทรีย์ จะไม่อาจทำปัคคหกิจ (กิจคือการยกจิตไว้) สติน-
ทรีย์จะไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ (กิจคือการอุปการะจิต) สมาธินทรีย์จะไม่อาจทำ
อวิกเขปกิจ (กิจคือทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน) ปัญญินทรีย์จะไม่อาจทำทัสสนกิจ
(กิจคือการเห็นตามเป็นจริง). เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์อันกล้านั้น ต้องทำ

ให้ลดลงเสียด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม ด้วยไม่ทำไว้ในใจ เหมือนเมื่อเขา
มนสิการ สัทธินทรีย์ที่มีกำลังนั้น. ก็ในข้อนี้มีเรื่องพระวักกลิเถระเป็น ตัวอย่าง.
แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้า ทีนั้น สัทธินทรีย์ ก็จะไม่อาจทำอธิโมกขกิจได้ (กิจคือ
การน้อมใจเชื่อ). อินทรีย์นอกนี้ ก็จะไม่อาจทำกิจนอกนี้ แต่ละข้อได้.
เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์อันกล้านั้น ต้องทำให้ลดลงด้วยเจริญปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์เป็นต้น . แม้ในข้อนั้น ก็พึงแสดงเรื่องพระโสณเถระ. ความที่เมื่อ
ความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่ อินทรีย์นอกนี้ จะไม่สามารถในกิจของตน ๆ
ได้ พึงทราบในอินทรีย์ที่เหลืออย่างนี้แล.
ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์ 5 นี้ บัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญอยู่ซึ่งความ
เสมอกันแห่งสัทธากับปัญญาและสมาธิกับวิริยะ. เพราะคนมีสัทธาแก่กล้า
แต่ปัญญาอ่อน จะเป็นคนเชื่อง่าย เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ. ส่วนคนมี
ปัญญากล้า แต่สัทธาอ่อน จะตกไปข้างอวดดี จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือน
โรคมราเกิดแต่ยา รักษาไม่ได้ฉะนั้น วิ่งพล่านไปด้วยคิดว่า จิตเป็นกุศลเท่านั้น
ก็พอ ดังนี้แล้ว ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. ต่อธรรมทั้ง 2
เสมอกัน บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้. โกสัชชะย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้า
แต่วิริยะอ่อน เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. อุทธัจจะย่อมครอบงำคนมีวิริยะ
กล้า แต่สมาธิอ่อน เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบ
เข้าด้วยกันแล้ว จะไม่ตกไปในโกสัชชะ. วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้ว
จะไม่ตกไปในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น อินทรีย์ทั้ง 2 นั้น ต้องทำให้เสมอกัน.
ด้วยว่า อัปปนาจะมีได้ ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง 2.
อีกอย่างหนึ่ง สัทธาแม้มีกำลัง ก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญ
สมถกัมมัฏฐาน). เธอเมื่อสัทธามีกำลังอย่างนี้ เชื่อดิ่งลงไปจักบรรลุอัปปนา
ได้. ในสมาธิและปัญญาเล่า เอกัคคตา (สมาธิ) มีกำลังก็ควร สำหรับ

สมาธิกัมมิกะ ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น เธอจะบรรลุอัปปนาได้.
ปัญญามีกำลัง ย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฎฐาน).
ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ (เห็นแจ้งไตร-
ลักษณ์) ได้. แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง 2 เสมอกัน อัปปนาก็คงมีได้.
ส่วนสติ มีกำลังในที่ทั้งปวง จึงจะควร เพราะสติรักษาจิตไว้แต่ความ
ตกไปในอุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งสัทธา วิริยะ และปัญญาอันเป็นฝ่ายอุทธัจจะ
และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.
เพราะฉะนั้น สตินั้น จึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งที่พึง
ปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง และดุจสรรพกัมมิกอำมาตย์ (ผู้รอบรู้ในการงาน
ทั้งปวง) เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ก็แลสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่
ทั้งปวง. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติ
มีการรักษาเอาไว้เป็นเครื่องปรากฏ การยกและข่มจิตเว้นสติเสีย หามีได้ไม่
ดังนี้.
การหลีกเว้นไกลบุคคลทรามปัญญา ผู้ไม่หยั่งลงในความต่างมีขันธ์
เป็นต้น ชื่อว่า การหลีกเว้นบุคคลทรามปัญญา. การคบหาบุคคลประกอบ
ด้วยปัญญาเห็นความเกิดและความเสื่อมกำหนดได้ 50 ลักษณะ ข้อว่า
การคบหาบุคคลมีปัญญา. การพิจารณาประเภทปาฐะ ด้วยปัญญาอันลึก เป็น
ไปในขันธ์เป็นต้น อันละเอียด ชื่อว่า การพิจารณาปาฐะที่ต้องใช้ปัญญาอัน
ลึก. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่ง
เป็นต้น เพื่อให้เกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ขึ้น ชื่อว่า ความน้อมจิตไปใน
ธัมมวิจยะนั้น. ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ฉันเกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ย่อมเจริญ
เต็มที่ได้ ด้วยอรหัตมรรค.

ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์
คือ ความพิจารณาเห็นภัยในอบาย 1 ความเป็นผู้ปกติเห็นอานิสงส์ 1 ความ
พิจารณาเห็นทางดำเนิน 1 ความเคารพในการเที่ยวบิณฑบาต 1 ความ
พิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งมฤดก 1 ความพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่ง
พระศาสดา 1 ความพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งชาติ 1 ความพิจารณาเห็น
ความเป็นใหญ่แห่งสพรหมจารี 1 ความหลีกเว้นบุคคลเกียจคร้าน 1 ความคบ
หาบุคคลปรารภความเพียร 1 ความน้อมใจไปในวิริยะนั้น 1.
ในบทเหล่านั้น เมื่อคนแม้พิจารณาเห็นซึ่งภัยในอบายอย่างนี้ว่า ใคร ๆ
ก็ไม่อาจเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์เกิดขึ้นได้ ในเวลาเสวยทุกข์ใหญ่ จำเดิมแต่รับ
เครื่องจองจำ 5 อย่าง ในนรกก็ดี ในเวลาที่ถูกจับด้วยแหและไซดักปลาเป็น
ต้น ในกำเนิดดิรัจฉานก็ดี ในเวลาที่เขาทิ่มแทงด้วยเครื่องประหารมีปฏักต้อน
ไปเป็นต้น นำเกวียนไปเป็นต้นก็ดี ในเวลาเดือดร้อนด้วยความหิวกระหายใน
ปิตติวิสัย ถึงหลายพันปี ถึงพุทธันดรหนึ่งก็ดี ในเวลาเสวยทุกข์เกิดแต่ลม
และแดดเป็นต้น เพราะอัตภาพมีเพียงหนังหุ้มกระดูก ขนาด 60 ศอก และ
80 ศอก ในกาลกัญชิกอสูรก็ดี ดูก่อนภิกษุ นี้แลเป็นเวลาของท่าน ดังนี้
วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อมีปกติเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า คนเกียจคร้านหาอาจได้โลกุตร-
ธรรม 9 ไม่ คนปรารภความเพียรเท่านั้น อาจได้. นี้เป็นอานิสงส์แห่งความ
เพียร ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาเห็นทางดำเนิน
อย่างนี้ว่า เราควรดำเนินตามทางที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ และมหา
สาวกทั้งปวงดำเนินไปแล้ว และทางนั้น คนเกียจคร้านหาอาจดำเนินไปได้ไม่
ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อพิจารณาเห็นซึ่งความเคารพในบิณฑบาตอย่างนั้นว่า คนที่อุปัฏฐาก
ท่านด้วยบิณฑบาตเป็นต้นเหล่านี้ จะเป็นญาติทาสกรรมกรของท่าน ก็หามิได้
เลย พวกเขาเหล่านั้น ถวายบิณฑบาตเป็นต้นอันประณีตด้วยคิดว่า พวกเรา
อาศัยท่านเลี้ยงชีพ ก็หามิได้ โดยที่แท้ ก็หวังการทำของตนว่ามีผลใหญ่ จึง
ได้ถวาย. ถึงพระศาสดาทรงพิจารณาเห็นอยู่อย่างนั้นว่า ภิกษุนี้ บริโภคปัจจัย
เหล่านี้แล้ว มีร่างกายแข็งแรงมาก จักอยู่สบายดังนี้ จึงไม่ทรงอนุญาตปัจจัยแก่
ท่าน โดยที่แท้ ทรงอนุญาตปัจจัยเหล่านั้นด้วยพระดำริว่า ภิกษุนี้ เมื่อ
บริโภคปัจจัยเหล่านี้ จักทำสมณธรรมพ้นจากวัฏทุกข์ บัดนี้ เมื่อท่านนั้น
เป็นคนเกียจคร้าน จักไม่เคารพก้อนข้าวนั้น แต่ท่านผู้ปรารภความเพียรเท่า
นั้น ชื่อว่า เคารพในบิณฑบาท วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น เหมือนที่
เกิดขึ้นแก่พระมหามิตตเถระ ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งความเคารพในบิณฑบาต.
ได้ยินว่า พระเถระอยู่ประจำในถ้ำกสกะ มหาอุบาสิกาคนหนึ่งในโคจร
คามของพระเถระนั้นแล ทำพระเถระให้เป็นบุตรบำรุงอยู่ วันหนึ่งเมื่อนางไป
ป่า จึงกล่าวกะธิดาว่า แม่ ข้าวสารเก่า อยู่ในที่โน้น น้ำนมอยู่ในที่โน้น
เนยใสอยู่ในที่โน้น น้ำอ้อยอยู่ในที่โน้น เจ้าจงหุงข้าวแล้วถวายพร้อมกับน้ำนม
เนยใสและน้ำอ้อยในเวลาอัยยมิตตเถระผู้เป็นพี่ชายของเจ้ามาแล้วเถิด เจ้าพึง
บริโภคส่วนเมื่อวาน แม่บริโภคข้าวดังที่สุกด้วยน้ำส้มแล้ว ดังนี้. ธิดาจึง
ถามว่า แม่กลางวันแม่จักกินอะไร. มารดาจึงกล่าวว่า ลูก เจ้าจงต้มข้าวยาคู
เปรี้ยวด้วยข้าวสารปนรำ ใส่ผักวางไว้.
พระเถระห่มจีวรเสร็จ พอนำบาตรออกไปได้ยินเสียงนั้น จึงสอนตน
ว่า ได้ยินว่า มหาอุบาสิกาบริโภคข้าวตังด้วยน้ำส้ม ถึงกลางวันก็จักบริโภค
ข้าวยาคูเปรี้ยวใส่ผัก ยังบอกข้าวสารเก่าเป็นต้นไว้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้า ก็
แลนางนั้น อาศัยกรรมนั้นแล้ว จะหวังที่นา สิ่งของ ภัตร ก็หามิได้เลย แต่

นางปรารถนาสมบัติ 3 จึ งถวาย เจ้าจักอาจเพื่อให้สมบติเหล่านั้นแก่นางได้
หรือไม่ คิดว่า เจ้ายังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ ไม่อาจรับบิณฑบาตนี้ได้
ดังนี้ แล้วจึงใส่บาตรไว้ในถุง ปลดรังดุม กลับไปยังถ้ำกสกะนั่นแล วางบาตร
ไว้ภายใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่ราวจีวร นั่งตั้งใจมั่น ทำความเพียรว่า เราไม่
บรรลุพระอรหัตแล้ว จักไม่ออกไป ดังนี้. ภิกษุอยู่ไม่ประมาทตลอดกาลนาน
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตก่อนภัตเป็นมหาขีณาสพ ทำการแย้มออกไป
ดุจปทุมกำลังแย้ม. เทพยดาสิงอยู่ที่ต้นไม้ใกล้ประตูถ้าเปล่งอุทานว่า
ข้าแต่บุรุษอาชาไนย ความนอบน้อม
จงมีแด่ท่าน ข้าแต่บุรุษผู้สูงสุด ความ
นอบน้อมจงมีแด่ท่าน ข้าแต่ท่านนฤทุกข์
ท่านเป็นทักขิไณยบุคคล ผู้มีอาสวะสิ้น
แล้ว ดังนี้

จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาแก่พระอรหันต์เช่นท่าน ผู้เข้า
ไปบิณฑบาทแล้ว จักพ้นจากทุกข์. พระเถระลุกขึ้นเปิดประตูมองดูเวลา รู้ว่า
ยังเช้าอยู่ จึงถือเอาบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้าน. ฝ่ายนางทาริกา จัดภัตไว้
พร้อมแล้ว นั่งแลดูประตูอยู่ว่า พระพี่ชายของเราจักมาบัดนี้ พระพี่ชายของ
ราจักมาบัดนี้ . เมื่อพระเถระถึงประตูเรือน นางรับบาตร บรรจุบาตรให้เต็ม
ด้วยบิณฑบาต น้ำนม ประกอบด้วยเนยใสและน้ำอ้อย วางไว้ในมือ. พระเถระ
ทำอนุโมทนาว่า จงมีความสุขเถิด เสร็จแล้วก็หลีกไป. แม้นางก็ยืนแลดู
พระเถระนั้นอยู่. เพราะว่าผิวพรรณของพระเถระในวันนั้นบริสุทธิ์ยิ่งนัก
อินทรีย์ก็ผ่องใส สีหน้าเปล่งปลั่งดังตาลสุกหลุดจากขั้ว.

มหาอุบาสิกากลับจากป่าแล้ว จึงถามว่า ลูก พระพี่ชายของเจ้ามาแล้ว
หรือ. นางบอกความเป็นไปนั้นทั้งปวง. อุบาสิกาทราบว่า กิจแห่งบรรพชิต
ของบุตรของเราถึงที่สุดแล้วในวันนี้ จึงกล่าวว่า ลูก พระพี่ชายของเจ้า ย่อม
ยินดีในพระพุทธศาสนา จะกระสันก็หาไม่ ดังนี้.
เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งมรดกว่า อริยทรัพย์ 7 นี้เป็น
มรดกอันยิ่งใหญ่ของพระศาสดา คนเกียจคร้าน หาอาจรับมรดกนั้นได้ไม่.
เปรียบเหมือนมารดาบิดาไม่รับรองบุตรผู้ปฏิบัติผิดว่า ผู้นี้ไม่ใช่บุตรของเรา
โดยความล่วงไปแห่งมารดาบิดาเหล่านั้น เขาก็ไม่ได้มรดก ฉันใด แม้คน
เกียจคร้าน ย่อมไม่ได้มรดกคืออริยทรัพย์นี้ ฉันนั้น ผู้ปรารภความเพียร
เท่านั้น ย่อมได้ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.
แม้เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งพระศาสดาอย่างนี้ว่า ก็แล
พระศาสดาของท่านใหญ่ คือ ในกาลที่พระศาสดาทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์
ของพระมารดาของท่านก็ดี ในการเสด็จทรงผนวชก็ดี ในการตรัสรู้ก็ดี ใน
การทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ การเสด็จลงจาก
เทวโลกและในการทรงปลงอายุสังขารก็ดี ในกาลปรินิพพานก็ดี หมื่นโลกธาตุ
ได้หวั่นไหวแล้ว คนที่บวชในศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้ เป็นผู้
เกียจคร้าน สมควรหรือ ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.
แม้เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งชาติอย่างนี้ว่า บัดนี้แม้โดยชาติ
ท่านไม่ใช่มีชาติต่ำ คือ ท่านเกิดในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช สืบต่อจาก
พระเจ้ามหาสมมติ อันไม่ปะปนกัน เป็นหลานของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
และพระนางมหามายาเทวี เป็นน้องของราหุลภัทร ท่านได้ชื่อว่า เป็นชินบุคคล
เห็นปานนี้ เกียจคร้านอยู่ ไม่สมควรเลยดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น
แม้เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งสพรหมจารีอย่างนั้นว่า พระสารีบุตร

พระโมคคัลลานะ และมหาสาวก 80 แทงตลอดซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย
ความเพียรเท่านั้น ส่วนท่านดำเนินหรือไม่ดำเนินไปตามทางของสพรหมจารี
เหล่านั้น ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.
แม้เมื่อหลีกเว้นบุคคลเกียจคร้านละความเพียรทางกายและทางจิตเสีย
เช่นงูเหลือมให้ท้องเต็มแล้วก็หยุด แม้คบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว แม้ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไปและโอนไป เพื่อความเกิดขึ้นแห่งความ
เพียรในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น แต่
วิริยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรค.
ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์
คือ ระลึกถึงพระพุทธคุณ 1 ระลึกถึงพระธรรมคุณ 1 ระลึกถึงพระสังฆคุณ 1
ระลึกถึงศีล 1 ระลึกถึงการบริจาค 1 ระลึกถึงเทวดา 1 ระลึกถึงคุณพระ-
นิพพาน 1 ความหลีกเว้นคนเศร้าหมอง 1 ความคบหาคนผ่องใส 1 ความ
พิจารณาความแห่งพระสูตรอันชวนเลื่อมใส 1 ความน้อมใจไปในปีตินั้น 1.
เมื่อระลึกถึงพระพุทธคุณก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วสรีระ
จนถึงอุปจาระ เมื่อระลึกพระธรรมคุณ พระสังฆคุณก็ดี บรรพชิตผู้พิจารณา
เห็นจตุปาริสุทธิศีล ที่ตนรักษาอยู่ ไม่ขาดตลอดกาลนานก็ดี คฤหัสถ์พิจารณา
ศีลอยู่ก็ดี ผู้ถวายโภชนะอันประณีตในคราวทุพภิกขภัยเป็นต้น แก่สพรหมจารี
แล้ว พิจารณาเห็นจาคะว่า เราได้ถวายโภชนะชื่ออย่างนี้อยู่ก็ดี แม้คฤหัสถ์
พิจารณาเห็นทานอันตนถวายแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย ในกาลเห็นปานนี้ก็ดี คน
ประกอบด้วยคุณเหล่าใด ถึงความเป็นเทวดา เมี่อพิจารณาเห็นความที่คุณ
เห็นปานนั้นมีอยู่ในคนก็ดี เมื่อพิจารณาเห็นว่า กิเลสที่ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ
ไม่ฟุ้งซ่านเลยถึง 60 ปี ถึง 70 ปี ดังนี้ก็ดี เมื่อหลีกเว้น บุคคลที่เศร้าหมอง
เหมือนธุลีบนหลังลา โดยไม่มีความเลื่อมใสและเยื่อใยในพระพุทธเจ้าเป็นต้น

เห็นความเศร้าหมองอันสะสมไว้แล้ว ในการกระทำความไม่เคารพ ในการ
เห็นลานพระเจดีย์ ลานโพธิ์และพระเถระก็ดี.
ผู้คบหาคนที่สนิทสนมมีจิตอ่อนโยน มากด้วยความเลื่อมใสในพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี พิจารณาเห็นพระสูตรอันชวนเลื่อมใส อันแสดงคุณแห่ง
พระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติ
ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น
แต่ปีติสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรค.
ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ คือ เสพโภชนะอันประณีต 1 เสพฤดูที่เป็นสุข 1 เสพอิริยาบถ
อันเป็นสุข 1 ประกอบความเพียรปานกลาง 1 หลีกเว้นบุคคลผู้มีกายกระสับ
กระส่าย 1 คบหาบุคคลผู้มีกายสงบ 1 น้อมจิตไปในปัสสัทธินั้น 1.
เมื่อบริโภคโภชนะอันสบาย ประณีต ละเอียดก็ดี เสพฤดูอันสบาย
และอิริยาบถอันสบาย ในฤดูหนาวและร้อน และในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืน
เป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น ส่วนผู้ใดเป็นชาติมหาบุรุษ ย่อมอดทนใน
อิริยาบถตามฤดูทั้งปวง ข้อนั้น ท่านมิได้กล่าวหมายถึงคำนั้น เมื่อเว้นฤดูและ
อิริยาบถอันมีส่วนไม่เสมอกันแห่งฤดูและอิริยาบถที่มีส่วนเสมอและไม่เสมอกัน
แล้ว เสพฤดูและอิริยาบถที่มีส่วนเสมอกัน ปัสสัทธิก็ย่อมเกิดขึ้น. ความพิจารณา
เห็นความที่ตนและผู้อื่นมีกรรมเป็นของตน เรียกว่าประกอบความเพียรปาน
กลาง. ด้วยการประกอบความเพียรปานกลางนี้ ปัสสัทธิก็ย่อมเกิดขึ้น ผู้ใดเที่ยว
เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น เมื่อหลีกเว้นบุคคลผู้มี
กายกระสับกระส่ายเห็นปานนั้นเสียก็ดี คบหาบุคคลผู้มีกายสงบ ผู้สำรวมมือก็ดี
ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิ ในอิริยาบถ

ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิก็ย่อมเกิดขึ้น แต่ปัสสัทธิสัม
โพชฌงค์เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรคด้วยประการฉะนี้. .
ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
คือ ความทำวัตถุให้สละสลวย 1 ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน 1 ความ
ฉลาดในนิมิต 1 ความยกจิตในสมัย 1 ความข่มจิตในสมัย 1 ความทำจิต
ให้ร่าเริงในสมัย 1 ความเพ่งดูจิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย 1 หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิต
ไม่เป็นสมาธิ 1 คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ พิจารณาวิโมกข์ 1 น้อมจิต
ไปในสมาธินั้น 1.
บรรดาบทเหล่านั้น ความทำวัตถุให้สละสลวย และความปรับอินทรีย์
ให้เสมอกัน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว. ความฉลาดในการถือเอากสิณนิมิต
ชื่อว่า ความฉลาดในนิมิต. บทว่า สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคณฺหณตา
ความว่า ในสมัยใด มีจิตหดหู่ เพราะเหตุมีความเพียรย่อหย่อนนักเป็นต้น
ในสมัยนั้น ยกจิตนั้นด้วยยการให้ธัมมวิจยะวิริยะและปีติสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้น.
บทว่า สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคณฺหณตา ความว่า ในสมัยใด มีจิตฟุ้งซ่าน
เพราะเหตุปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัยนั้น ข่มจิตนั้น ด้วยการให้
ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้น. บทว่า สมเย สมฺปหสนตา
ความว่า ในสมัยใด จิตไม่มีอัสสาทะเพราะความพยายามทางปัญญาอ่อนไปก็ดี
เพราะไม่ได้ความสุขอันเกิดแต่ความสงบก็ดี ในสมัยนั้น พระโยคาวจร ย่อม
พิจารณาวัตถุอัน ให้เกิดสังเวช 8 อย่าง. วัตถุทั้งหลาย คือชาติ ชรา พยาธิ
และมรณะเป็น 4 อบายทุกข์เป็นที่ 5 ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะ
เป็นมูลในอนาคต ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน ชื่อว่า สังเวค
วัตถุ 8. เธอย่อมยังความเลื่อมใสให้เกิดด้วยการระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย
นี้เรียกว่า ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย. ชื่อว่า ความเพ่งดูจิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย
ได้แก่ ในสมัยใด จิตอาศัยความปฏิบัติชอบ เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน

ไม่มีอัสสาทะเป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสมถะ ในสมัยนั้น
เธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่ม และการทำให้มันร่าเริง ดุจสารถี
เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อย ก็ไม่ขวนขวายฉะนั้น นี้เรียกว่า ความเพ่งดู
จิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย. การหลีกเว้นไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ยังไม่ถึงอุปจาระ
หรืออัปปนา ชื่อว่า หลีกเว้น บุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ. การเสพ การคบทา
การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจาระ หรืออัปปนา ชื่อว่า การ
คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปเพื่อเกิด
สมาธิในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น ชื่อว่า ความน้อมจิต
ไปในสมาธินั้น. ก็เธอเมื่อปฏิบัติอย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น
ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัต-
มรรค.
ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ คือ ความวางเฉยในสัตว์ 1 ความวางเฉยในสังขาร 1 ความหลีก
เว้นบุคคลผู้พัวพันอยู่ในสัตว์และสังขาร 1 ความคบหาบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์
และสังขาร 1 ความน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น 1.
บรรดาบทเหล่านั้น เธอให้ความวางเฉยในสัตว์ตั้งขึ้น ด้วยอาการ 2
คือด้วยการพิจารณาเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านมา
ด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ แม้เขามาด้วยกรรม
ของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ ท่านจะพัวพันกับใครดังนี้ และ
ด้วยการพิจารณาเห็นมิใช่สัตว์อย่างนี้ว่า โดยปรมัตถ์สัตว์ไม่มีเลย ท่านนั้นจะ
พัวพันกับใครเล่า ดังนี้. ย่อมให้ความวางเฉยในสังขารตั้งขึ้น ด้วยอาการ 2
คือ ด้วยการพิจารณาเห็นความไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงความมีสี
เปลี่ยนไป และความคร่ำคร่าโดยลำดับ เป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า จักเป็น

ของควรเอาปลายไม้เท้าเขี่ยทิ้งไป ถ้าเจ้าของผ้านั้นมี ไม่ควรให้ผ้านั้นพินาศ
ไปอย่างนี้. และด้วยการพิจารณาเห็นความเป็นของชั่วเวลาหนึ่งอย่างนี้ว่า สิ่งนี้
ไม่แน่นอน เป็นของชั่วเวลาหนึ่ง ดังนี้. แม้ในบาตรเป็นต้น พึงประกอบ
วาจาเหมือนในจีวรฉะนั้น.
ในบทว่า สตฺตสํขารเกลายมปุคฺคลปริวชฺชนตา นี้ มีความว่า
บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ย่อมยึดถือบุตรและธิดาเป็นต้นของตนว่าของเราก็ดี เป็น
บรรพชิต ยึดถืออันเตวาสิกและผู้ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้น ของตนว่า ของเรา
ช่วยทำกิจมีการตัดผม การเย็บ การซัก การย้อมจีวรและสุมบาตรเป็นต้น
ของอันเตวาสิกเป็นต้นด้วยมือของตน เมื่อไม่เห็นแม้เพียงครู่เดียว ย่อมมองหา
ทั้งข้างนี้ ข้างโน้น ดุจเนื้อตื่นว่า สามเณรโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มโน้น ไป
ไหนดังนี้ แม้ถูกคนอื่นขอร้องกะท่าน เพื่อประโยชน์แห่งการตัดผมเป็นต้นว่า
ท่านจะให้สามเณรโน้นแก่เราสักครู่ก่อนเถิด ย่อมไม่ให้ด้วยกล่าวว่างานส่วนตัว
เรายังไม่ใช้เขาให้ทำเลย พวกท่านพาเขาไปจักลำบากดังนี้ นี้ชื่อว่า ความ
พัวพันในสัตว์. ส่วนภิกษุใดยึดถือจีวรบาตรชามเล็ก ไม้ถือเป็นต้นว่าของเรา
ไม่ให้คนอื่นแม้เอามือจับ ถึงจะถูกเขาขอร้องอยู่ตลอดเวลา ก็กล่าวอยู่ว่า ถึง
พวกเราก็ปรารถนาทรัพย์ จึงไม่ใช้สอย เราจักให้แก่ท่านทั้งหลายได้อย่างไร
ภิกษุนี้ชื่อว่า พัวพันในสังขาร ส่วนผู้ใดเป็นผู้วางเฉยแม้ในวัตถุทั้งสองเหล่า
นั้น ผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้วางเฉยในสัตว์และสังขาร. ด้วยอาการอย่างนี้ อุเบกขา
สัมโพชฌงค์นี้ จึงเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้หลีกเว้นไกลบุคคลผู้พัวพันในสัตว์และ
สังขารเห็นปานนี้บ้าง ผู้คบหาบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขารอยู่บ้าง ผู้มีจิต
น้อมไป โน้มไป โอนไป เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ใน
อิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้นบ้าง. แต่อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิด
ขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยยอรหัตมรรค.

บทว่า อสุภนิมิตฺตํ ได้แก่ ธรรมมีอสุภะเป็นอารมณ์ อันต่างด้วย
อุทธุมาตกอสุภกัมมัฏฐานเป็นต้น การทำไว้ในใจถึงอุบาย การทำไว้ในใจ
ถึงทาง การทำไว้ในใจถึงความเกิด ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ในบทว่า โยนิโส
มนสิการพหุลีกาโร
นี้.
อนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือการเรียนเอา
อสุภนิมิต 1 การตามประกอบในอสุภภาวนา 1 ความมีทวารอันคุ้มครองใน
อินทรีย์ 1 ความรู้จักประมาณในโภชนะ 1 ความมีเพื่อนเป็นคนดี 1 เรื่องที่เป็น
สัปปายะ 1 เพราะว่าเมื่อเรียนเอาอสุภนิมิต 10 อย่างก็ดี เมื่อเจริญอสุภนิมิต
1 อย่างก็ดี ผู้มีทวารอันตนคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ก็ดี ผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะโดยเว้นคำข้าว 4-5 คำไว้โอกาสดื่มน้ำเป็นปกติก็ดี ก็ละกามฉันทะ
ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ภิกษุควรเว้น คำข้าว 4 - 5 คำไว้
ดื่มน้ำ ก็พอสำหรับภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว
เพื่ออยู่ผาสุก.

เมื่อคบหากัลยาณมิตร ผู้ยินดีในอสุภภาวนาเช่นพระติสสะผู้บำเพ็ญอสุภ-
กัมมัฏฐาน ก็ละกามฉันทะได้. แม้ในการกล่าวคำเป็นสัปปายะในอสุภนิมิต
10 ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะดังนี้. ส่วน
กามฉันทะที่ละได้ด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วย.
อรหัตมรรค.
อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี ก็ควรในบทที่กล่าวว่า เมตตา ในบทว่า
เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ นี้. อัปปนาอย่างเดียวชื่อว่า เจโตวิมุตฺติ. โยนิโส

มนสิการมีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละ
พยาบาท คือ การถือเอาเมตตานิมิต 1 การประกอบเมตตาภาวนา 1 การ
พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน 1 ความเป็นผู้พิจารณามาก 1
คบเพื่อนเป็นคนดี 1 เรื่องที่เป็นสัปปายะ 1 แท้จริง แม้เมื่อถือเอาเมตตา
ด้วยอำนาจแห่งเมตตาที่แผ่ทั่วทิศ ทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ละพยาบาทได้ ในกาลนั้น เมื่อเจริญเมตตาด้วยอำนาจการแผ่ทั่วทิศ ทั้งเจาะจง
ทั้งไม่เจาะจงก็ดี พิจารณาความที่ตนและผู้อื่นมีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า
ท่านโกรธจักทำอะไรแก่เขาได้ ท่านจักสามารถทำศีลเป็นต้น ของเขาให้พินาศ
หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของที่นั่นแหละมิใช่หรือ
ชื่อว่า ความโกรธต่อผู้อื่นเป็นเช่นกับบุคคลถือเอาถ่านเพลิงที่มีเปลวไปปราศ
แล้ว ซี่เหล็กอันร้อนและคูถเป็นต้นแล้ว ประสงค์จะประหารผู้อื่น. แม้เขา
โกรธ จักทำอะไรต่อท่านได้ เขาจักทำศีลเป็นต้นของท่านให้พินาศหรือ เขา
มาด้วยกรรมของตนก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ ความโกรธของตนจัก
ตกบนกระหม่อมของเขานั่นเอง ดุจเครื่องประหารที่มิได้หุ้มห่อ และดุจกำธุลี
ที่ตนซัดไปทวนลมฉะนั้น ดังนี้ก็ดี ผู้พิจารณาความที่ตนและผู้อื่นมีกรรมเป็น
ของ ๆ ตนทั้งสอง ยืนพิจารณาอยู่ก็ดี ผู้คบหากัลยาณมิตร ยินดีในเมตตา
ภาวนาเช่นกับพระอัสสุคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้. แม้ในเรื่องเป็นสัปปายะ
อาศัยเมตตาในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท
ดังนี้. ก็พยาบาทอันละได้ด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไป
ด้วยอนาคามิมรรค.

บทเป็นต้นว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อรติ มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.
อนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ การถือเอานิมิตใน
โภชนะที่เกิน 1 การเปลี่ยนอิริยาบถ 1 มนสิการถึงอาโลกสัญญา 1 การอยู่
กลางแจ้ง 1 คบเพื่อนเป็นคนดี 1 เรื่องเป็นที่สัปปายะ 1.
แม้เมื่อถือเอานิมิตในโภชนะที่เกินอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อบริโภคโภชนะ
เหมือนพราหมณ์ที่ชื่อว่าอาหรหัตถกะ ที่ชื่อว่าภุตตวิมมิตกะ. ที่ชื่อว่าตัตร-
วัฏฏกะ ที่ชื่อว่าอลังสาฎกะ ที่ชื่อว่ากากมาสกะ แล้วนั่งที่พักกลางคืนและ
ที่พักกลางวัน กระทำสมณธรรม ถีนมิทธะย่อมมาตรอบงำเหมือน
ช้างใหญ่. ถีนมิทธะนั้นจะไม่มีแก่ภิกษุผู้เว้นโอกาสแห่งคำข้าว 4-5 คำ
ไว้ดื่มน้ำเป็นปกติ ย่อมละถีนมิทธะได้. ถีนมิทธะย่อมครอบงำในอิริยาบถใด
เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอื่นจากอิริยาบถนั้นเสียก็ดี กระทำไว้ใน ใจถึงแสงสว่างแห่ง
ดวงจันทร์ประทีปและคบเพลิงในกลางคืน แสงสว่างดวงอาทิตย์ในกลางวันก็ดี
อยู่ในกลางแจ้งก็ดี คบหากัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะได้เช่นมหากัสสปเถระก็ดี
ย่อมละถีนมิทธะได้. แม้ในเรื่องที่เป็นสัปปายะอาศัยธุดงค์ ในอิริยาบถมีการ
ยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ย่อมละถีนมิทธะได้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะดังนี้. ก็ถีนมิทธะ
อันละได้ด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอรหัตมรรค.
บทเป็นต้นว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เจตโส วูปสโม มีเนื้อความ
อันกล่าวแล้วแล. ก็อนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ
คือ ความเป็นพหูสูต 1 ความเป็นผู้ไต่ถาม 1 ความชำนาญในพระวินัย 1
คบวุฑฒบุคคล 1 คบเพื่อนเป็นคนดี 1 เรื่องเป็นสัปปายะ 1 แม้เมื่อภิกษุ
เรียนหนึ่งนิกายหรือสามนิกาย สี่นิกายหรือห้านิกาย ด้วยสามารถแห่งพระบาลี
และด้วยสามารสแห่งอรรถ แม้โดยความเป็นพหูสูตบุคคล ย่อมละอุทธัจจ-
กุกกุจจะได้. ผู้มากด้วยการไต่ถามสิ่งที่ควรและไม่ควรก็ดี ผู้ชำนาญเพราะ

เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในพระวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าไปหาพระเถระผู้แก่ก็ดี คบหา
กัลยาณมิตรผู้ทรงวินัย เช่นพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้.
แม้ในเรื่องเป็นสัปปายะ อันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร ย่อมละได้เหมือนกัน.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุจทธัจจ-
กุกกุจจะ ดังนี้. ก็ในอุทธจัจกุกกุจจะอันละได้ด้วยธรรม 6 ประการเหล่านี้
อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไป ด้วยยอรหัตมรรค กุกกุจจะไม่เกิดขึ้นด้วย
อนาคามิมรรคด้วยประการฉะนี้.
แม้บทเป็นต้นว่า กุสลากุสลา ธมฺมา มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.
อนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ ความเป็นพหูสูต 1
ความเป็นผู้ไต่ถาม 1 ความชำนาญในพระวินัย 1 ความเป็นผู้มากด้วย
อธิโมกข์ 1 คบเพื่อนเป็นคนดี 1 เรื่องเป็นสัปปายะ 1.
แม้เมื่อภิกษุ เรียนเอาหนึ่งนิกายหรือ ฯลฯ หรือห้านิกายด้วยสามารถ
แห่งพระบาลี และด้วยสามารถแห่งอรรถ แม้โดยความเป็นพหูสูตบุคคล
ย่อมละวิจิกิจฉาได้. เธอปรารภพระรัตนตรัย มากด้วยการไต่ถามก็ดี ผู้เชี่ยวชาญ
ในพระวินัยก็ดี ผู้มากด้วยความน้อมใจไปกล่าวคือศรัทธาที่สำเร็จในรัตนะสาม
ก็ดี คบกัลยาณมิตรเช่นพระวักกลิเถระผู้น้อมไปในศรัทธาก็ดี ละวิจิกิจฉาได้.
แม้ในเรื่องเป็นสัปปายะอาศัยคุณแห่งรัตนะทั้งสามในอิริยาบถมีการยืนและการ
นั่งเป็นต้น ก็ย่อมละได้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6
ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา ดังนี้. ก็วิจิกิจฉาอันละได้ด้วยธรรม 6
ประการเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยโสดาปัตติมรรค. ในพระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปลี่ยนเทศนา โดยฐานะสาม ทรงถือเอาธรรมอัน
เป็นยอดด้วยพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
ในที่สุดแห่งเทศนา พวกภิกษุ 500 รูปได้บรรลุพระอรหัต.
จบอรรถกถาอาหารสูตรที่ 1

2. ปริยายสูตร



ว่าด้วยปริยายนิวรณ์ 5


[547] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้มีความดำริว่า
เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร
เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด. ภิกษุเหล่านั้นจึง
เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์
ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคคมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนั้นว่า
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ 5 อันเป็นอุปกิเลสของใจ
ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ 7 ตามเป็นจริง ดังนี้. แม้พวกเราก็
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงละนิวรณ์ 5 อัน เป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ 7
ตามเป็นจริง. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็น
ความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ระหว่าง
ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนี
ของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
[548] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกพวกนั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยตั้งใจว่า
เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้า.