เมนู

ภิกษุทั้งหลาย ความสงบใจมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความ
สงบใจนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่
เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[539] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉา
ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลว
และประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-
โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

มิใช่อาหารของโพชฌงค์


[550] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สติสัม-
โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำ
ให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[541] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ธรรมวิจย-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ
ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การไม่กระทำให้มาก
ซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยิ่ง
ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[542] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิริย-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น มีอยู่ การไม่กระทำ
ให้มากซึ่งมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[543] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปีติสัม-
โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด. เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำ
ให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[544] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่ง
มนสิการในความสงบนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
[545] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่ง
มนสิการในนิมิตนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[546] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่
กระทำให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้อุเบกขาสัม-
โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.
จบอาหารสูตรที่ 1

อรรถกถาหมวดที่ 6 แห่งโพชฌงค์*



อรรถกถาอาหารสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอาหารสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 6
ในบทว่า อยมาหาโร อนุปฺปนฺนสฺส วา สติสมฺโพชฺฌงฺคสฺส
อุปฺปาทาย
เป็นต้น นี้เป็นความต่างกันจากนัยก่อน. ธรรมเหล่านั้น มี
ประการอันกล่าวแล้ว เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น อย่างเดียว
เท่านั้น ก็หามิได้ ย่อมเป็นปัจจัยเพื่อความเจริญเต็มที่แห่งโพชฌงค์ทั้งหลาย
ที่เกิดแล้วด้วย ส่วนธรรมแม้เหล่าอื่น พึงทราบอย่างนั้นแล.
ส่วนธรรมอื่นอีก 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัม-
โพชฌงค์ คือ สติสัมปชัญญะ 1 การหลีกเว้นคนลืมสติ 1 ความคบบุคคล
มีสติตั้งมั่น 1 ความน้อมจิตไปในธรรมนั้น 1.
ก็สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ 7 มีการก้าวไปเป็นต้น ด้วย
สติสัมปชัญญะ ด้วยการหลีกเว้นคนลืมสติ เช่นกาทิ้งเหยื่อ ด้วยคบคนมีสติ
ตั้งมั่น เช่นพระติสสทัตตเถระและพระอภัยเถระเป็นต้น และด้วยมีจิตน้อมไป
โน้มไป โอนไป เพื่อให้เกิดขึ้นในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ส่วน
สติสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดขึ้นด้วยเหตุ 4 ประการ อย่างนี้แล้ว ย่อมเจริญ
เต็มที่ด้วยอรหัตมรรค.
ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัม-
โพชฌงค์ คือ ความเป็นผู้ไต่ถาม 1 ความทำวัตถุให้สละสลวย 1 การปรับ
อินทรีย์ให้เสมอกัน 1 การหลีกเว้นบุคคลทรามปัญญา 1 การคบหาบุคคลมี
*อรรถกถาใช่ว่า วรรคที่ 6.