เมนู

9. ปทุมอังคสูตร



โยนีโสมนสิการเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์ 7


[518] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายในให้เป็นเหตุแล้ว เรา
ยังไม่เล็งเห็นเหตุอื่นอันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ 7 เหมือนโยนิ-
โสมนสิการเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ 7 จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7.
[519] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ
ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างไรเล่า. ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก, อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 ย่อมกระทำให้มาก
ซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างนี้แล.
จบปฐมอังคสูตรที่ 9

10. ทุติยอังคสูตร



ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์


[520] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้วเรายัง
ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ 7 เหมือน

ความเป็นผู้มีมิตรดีเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อ
มิได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ 7 จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7.
[521] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์
7 ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างไรเล่า. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อม
เจริญโพชฌงค์ 7 ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างนี้แล.
จบทุติยอังคสูตรที่ 10
จบจักกวัตติวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคที่ 5


1. วิธาสูตร 2. จักกวัตติสูตร 3. มารสูตร 4.ทุปปัญญสูตร
5. ปัญญวาสูตร 6. ทลิททสูตร 7. อทลิททสูตร 8. อาทิจจสูตร 9. ปฐม-
อังคสูตร 10. ทุติยองัคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.