เมนู

อรรถกถารุกขสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในรกขสูตรที่ 9.
บทว่า อชฺฌารหา แปลว่า งอกขึ้น. บทว่า กจฺฉโก แปลว่า
ต้นไทร. บทว่า กปิตฺถโน ได้แก่ ต้นมิลักขุเกิดขึ้นแล้วมีผลเช่นกับนมลิง.
จบอรรถกถารุกขสูตรที่ 9

10. นีวรณสูตร



นิวรณ์ทำให้มืด


[501] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ 5 เหล่านี้ กระทำให้มืด
กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็น
ไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. นิวรณ์ 5 เป็นไฉน
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป
เพื่อนิพพาน พยาบาทนิวรณ์. . . ถีนมิทธนิวรณ์ . . . อุทธัจจกุกกุจจ-
นิวรณ์ . . . วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม้ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้
มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ 5 เหล่านี้แล กระทำ
ให้มืด กระทำไม้ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา
เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[502] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 เหล่านี้ กระทาให้มีจักษุ
กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง
ความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน. คือ สติสัม-
โพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ
ปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็น
ไปเพื่อนิพพาน.
จบนีวรณสูตรที่ 10
จบนีวรณวรรคที่ 4

อรรถกถานีวรณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนีวรณสูตรที่ 10.
บทว่า อนฺธกรณา แปลว่า กระทำให้มืด. บทว่า อจกฺขุกรณา
ได้แก่ กระทำไม่ให้มีปัญญาจักษุ. บทว่า ปญฺญานิโรธิยา ได้แก่ ดับปัญญา.
บทว่า วิฆาตปกฺขิยา แปลว่า เป็นฝ่ายทุกข์. บทว่า อนิพฺพานสํวตฺตนิกา
ได้แก่ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น
แล ในวรรคนี้ แม้ทั้งสิ้น ท่านกล่าวโพชฌงค์คลุกเคล้ากันไป ด้วยประการ
ฉะนี้.
จบอรรถกถานีวรณสูตรที่ 10
จบนีวรณวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมกุสลสูตร 2. ทุติยกุสลสูตร 3. อปกิเลสสูตร 4. อโย-
นิโสสูตร 5. โยนิโสสูตร 6. วุฑฒิสูตร 7. อาวรณานีวรณสูตร
8. นีวรณาวรณสูตร 9. รุกขสูตร 10. นีวรณสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.