เมนู

[462] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อุทายี มรรคที่เธอได้
แล้วนั้นแล อันเธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำเธอผู้อยู่โดยอาการ
นั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่เธอจักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี.
จบอุทายิสูตรที่ 10
จบอุทายิวรรคที่ 3


อรรถกถาอุทายิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ 10.
บทว่า อพหุกโต แปลว่า ไม่กระทำให้มาก. ในบทว่า อกฺกุชฺชาว-
กุชฺชํ
นี้ท่านแสดงว่า พระอุทายี พิจารณาเปลี่ยนไปมากด้วยอำนาจความเกิด
และความเสื่อม ความเกิดเรียกว่า อุกกุชชะ ความเสื่อมเรียกว่า อวกุชชะ.
บทว่า ธมฺโม จ เม อกิสเมโต ได้แก่ วิปัสสนาธรรม อันข้าพระองค์
บรรลุแล้ว. บทว่า มคฺโค คือ วิปัสสนามรรค. ก็ถ้าพระเถระเป็นโสดาบัน
ในสมัยนั้น พึงทราบวิปัสสนานี้เพื่อประโยชน์แก่มรรคาทั้งสามเบื้องบน ถ้าเป็น
อนาคามี พึงทราบวิปัสสนานี้ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมรรค. บทว่า
ตถา ตถา วิหรนฺตํ ได้แก่ อยู่โดยอาการนั้น ๆ. บทว่า ตถตฺตาย
ได้แก่ เพื่อความเป็นอย่างนั้น. ด้วยบทเป็นต้นว่า ขีณา ชาติ ท่านประสงค์เอา
ตถตฺตาย พระเถระแสดงความเป็นอย่างนั้น. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า พระเถระ

ย่อมนำเอาธรรมนั้นเข้ามา เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา เมื่อท่านแสดง
ธรรมนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ 10
จบอุทายิวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โพธนสูตร 2. เทสนาสูตร 3. ฐานิยสูตร 4. อโยนิโสสูตร
5. อปริหานิยสูตร 6. ขยสูตร 7. นิโรธสูตร 8. นิพเพธสูตร
9. เอกธรรมสูตร 10. อุทายิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.