เมนู

อรรถกถาเอกธรรมสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเอกธรรมสูตรที่ 9.
บทว่า สญฺโญชนวินิพนฺธา ได้แก่ เครื่องผูกกล่าวคือสังโยชน์.
บทว่า อชฺโฌสานา ได้แก่ ให้สำเร็จแล้วยึดถือ.
จบอรรถกถาเอกธรรมสูตรที่ 9

10. อุทายิสูตร



พระผู้มีพระภาคเจ้ารับรองมรรคที่พระอุทายีได้


[458] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของ
ชนชาวสุมภะ ชื่อเสตกะ ในแคว้นสุมภะ ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า
[459] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ไม่เคย
มีมามีขึ้น ความรัก ความเคารพ ความละอายใจ และความเกรงกลัว ของ
ข้าพระองค์ซึ่งมีอยู่ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า มากเพียงไร ด้วยว่า ข้าพระองค์
เมื่อเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนอยู่ในกาลก่อน ก็มิได้กระทำความคุ้นเคย
กับพระธรรมมากนัก มิได้กระทำความคุ้นเคยกับพระสงฆ์มากนัก ข้าพระองค์
เห็นความรัก ความเคารพ ความละอายใจ ความเกรงกลัว ในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงออกบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่

ข้าพระองค์ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา . . . อย่างนี้สัญญา . . . อย่างนี้สังขาร . . . อย่างนี้วิญญาณ
อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ.
[460] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่างพิจารณา
ถึงความเกิดและความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ได้รู้ตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
[461] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว
และมรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ข้าน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น
โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี คือ สติสัมโพชฌงค์ ที่
ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำ
ข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่
ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่
ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำ
ข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์
จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนี้แล อันข้าพระองค์
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้น ๆ ไป
เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[462] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อุทายี มรรคที่เธอได้
แล้วนั้นแล อันเธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำเธอผู้อยู่โดยอาการ
นั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่เธอจักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี.
จบอุทายิสูตรที่ 10
จบอุทายิวรรคที่ 3


อรรถกถาอุทายิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ 10.
บทว่า อพหุกโต แปลว่า ไม่กระทำให้มาก. ในบทว่า อกฺกุชฺชาว-
กุชฺชํ
นี้ท่านแสดงว่า พระอุทายี พิจารณาเปลี่ยนไปมากด้วยอำนาจความเกิด
และความเสื่อม ความเกิดเรียกว่า อุกกุชชะ ความเสื่อมเรียกว่า อวกุชชะ.
บทว่า ธมฺโม จ เม อกิสเมโต ได้แก่ วิปัสสนาธรรม อันข้าพระองค์
บรรลุแล้ว. บทว่า มคฺโค คือ วิปัสสนามรรค. ก็ถ้าพระเถระเป็นโสดาบัน
ในสมัยนั้น พึงทราบวิปัสสนานี้เพื่อประโยชน์แก่มรรคาทั้งสามเบื้องบน ถ้าเป็น
อนาคามี พึงทราบวิปัสสนานี้ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมรรค. บทว่า
ตถา ตถา วิหรนฺตํ ได้แก่ อยู่โดยอาการนั้น ๆ. บทว่า ตถตฺตาย
ได้แก่ เพื่อความเป็นอย่างนั้น. ด้วยบทเป็นต้นว่า ขีณา ชาติ ท่านประสงค์เอา
ตถตฺตาย พระเถระแสดงความเป็นอย่างนั้น. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า พระเถระ