เมนู

อรรถกถากุณฑลิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกุณฑลิยสูตรที่ 6.
บทว่า อารามนิยาทิ ได้แก่ ชื่อว่า เที่ยวไปในอาราม เพราะอาศัย
อารามเป็นที่ไป. บทว่า ปริสาวจโร ได้แก่ เที่ยวไปในบริษัท. คนพาลบ้าง
บัณฑิตบ้าง มารวมกันอยู่ ชื่อว่า บริษัท. ส่วนผู้ใด ย่อมสามารถเพื่อย่ำยี
วาทะของคนอื่นแล้ว จึงแสดงวาทะของตนได้ ผู้นี้ชื่อว่า เที่ยวไปในบริษัท.
บทว่า อาราเมน อารามํ ความว่า ข้าพเจ้าเดินไปเนือง ๆ สู่อารามจาก
อาราม อธิบายว่า มิได้เดินไปภายนอก แม้ในอุทยานก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า เข้าไปสู่อารามหนึ่ง จากอารามหนึ่ง เข้าไปสู่
อุทยานหนึ่ง จากอุทยานหนึ่ง. บทว่า อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสํ ความว่า
วาทะดังนี้ การเปลื้องวาทะดังนี้ โดยนัยนี้ว่า การถามมีอย่างนี้ การตอบ
มีอย่างนี้ การถือเอาความอย่างนี้ ไขความอย่างนี้ ดังนี้ นั่นเป็นอานิสงส์
บทว่า อุปารมฺภานิสํสํ ได้แก่ มีโทษในวาทะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้ว่า
นี้เป็นโทษในการถาม นี้เป็นโทษในการตอบ ดังนี้. บทว่า กถํ ภาวิโต
กิณฺฑลิย อินฺทํริยสฺวโร
ความว่า พระศาสดาทรงรู้ว่า ก็ปริพาชกถาม
ฐานะมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เขาไม่อาจเพื่อจะถามอีก เมื่อทรงถาม
จึงทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยพระองค์โดยทรงดำริว่า คราวแรก เทศนานี้ไม่เป็นไป
ต่อเนื่องกัน บัดนี้ เราจักให้เทศนานี้ถึงการต่อเนื่องกัน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มนาปํ นาภิชฺณายติ ได้แก่ ย่อมไม่
เพ่งอารมณ์ที่น่าปรารถนา. บทว่า นาวิหึสติ ได้แก่ ย่อมไม่ขึ้งเคียดด้วย
ความยินดี อันมีอามิส. บทว่า ตสฺส ฐิโต จ กาโย โหติ ฐิตํ จิตฺตํ

อชฺฌตฺตํ ความว่า นามกายและจิตของเธอคงที่อยู่ภายในอารมณ์ บทว่า
สสณฺฐิตํ ได้แก่ มั่นคงด้วยดีด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน บทว่า สุวิมุตฺตํ ได้แก่
หลุดพ้นดีแล้วด้วยกัมมัฏฐาน. บทว่า อมนาปํ ได้แก่ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา
บทว่า น มงฺกุ โหติ ได้แก่ ย่อมไม่เก้อในรูปนั้น บทว่า อปฺปติฎฺฐิต-
จิตฺโต
ได้แก่ มีจิตไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า อาทินฺนมานโส
ได้แก่ มีจิตอันกิเลสยึดถือด้วยอำนาจโทมนัสไม่ได้. บทว่า อพฺยาปนฺนเจตโส
ได้แก่ มีจิตไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจโทสะ.
ในบทว่า เอวมฺภาวิโต โข กุณฺฑลิย อินฺทริยสํวโร เอวํ
พหุลีกโต ตีณิ สุจริตานิ ปริปูเรติ
นี้ พึงทราบการยังสุจริตให้บริบูรณ์
อย่างนี้ ทุจริตทั้งหลายมี 18 ในทวาร 6 เหล่านี้ก่อน. ถามว่า มีได้อย่างไร
ตอบว่า เมื่อไม่ให้ส่วนกายและวาจาหวั่นไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนา
มาสู่คลอคงในจักขุทวารครั้งแรก แต่ยังความโลภให้เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น
จัดเป็นมโนทุจริต. เมื่อพูดด้วยจิตประกอบด้วยความโลภว่า โอหนอ สิ่งนี้
น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจดังนี้ จัดเป็นวจีทุจริต เมื่อเอามือจับต้อง
สิ่งนั้นเท่านั้น จัดเป็นกายทุจริต. แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ส่วนความต่างกันดังนี้ ด้วยว่า เมื่อจับต้องเครื่องดนตรีมีสังข์และ
บัณเฑาะว์เป็นต้น อันเป็นอนามาส ซึ่งเป็นที่ตั้งของสัททารมณ์ในโสตทวาร
จับต้องของหอมและดอกไม้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของคันธารมณ์ในฆานทวาร.
จับต้องปลาและเนื้อเป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของรสารมณ์ในชิวหาทวาร. จับต้อง
จีวรเป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของโผฏฐัพพารมณ์ ในกายทวาร เมื่อจับต้อง เนยใส
น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมารมณ์ด้วยอำนาจแห่งบัญญัติ
ในมโนทวาร พึงทราบว่า กายทุจริต แต่เมื่อว่าโดยย่อ ในข้อนี้มีทุจริตสาม

เท่านั้น คือ การละเมิดทางกายในทวาร 6 จัดเป็นกายทุจริต การละเมิด
ทางวาจา จัดเป็นวจีทุจริต การละเมิดทางใจ จัดเป็นมโนทุจริต.
ส่วนภิกษุนี้ มั่นคงอยู่ในการพิจารณาภาวนาของตนย่อมประพฤติ
สุจริตเหล่านี้ให้เป็นสุจริตธรรม ถามว่า ประพฤติอย่างไร ตอบว่า เมื่อ
ไม่ยังส่วนกายและวาจาให้เคลื่อนไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่คลอง
ในจักขุทวารครั้งแรก ปรารถนาอยู่ซึ่งวิปัสสนาอันมีรูปเป็นอารมณ์ จัดเป็น
มโนสุจริต เมื่อพูดด้วยจิตอันประกอบด้วยวิปัสสนาว่า มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จัดเป็นวจีสุจริต. เมื่อไม้จับต้องด้วย
คิดว่า สิ่งนี้เป็นอนามาส จัดเป็นกายสูจริต แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ว่าโดยพิสดาร สุจริตมีด้วยทวารที่เหลือด้วยประการฉะนี้
แต่โดยสังเขปในข้อนี้ มีสุจริตสามเท่านั้น คือ การสำรวมทางกายในทวาร 6
จัดเป็นกายสจริตุ การสำรวมทางวาจาจัดเป็นวจีสูจริต. การสำรวมทางใจ
จัดเป็นมโนสุจริต ความสำรวมอินทรีย์อย่างนี้ พึงทราบว่า ย่อมยังสุจริตสาม
ให้บริบูรณ์. ท่านกล่าวถึงอินทรียสั่งวรศีล อันศีลตามรักษาแล้ว ด้วยเหตุ
ประมาณเท่านี้.
ในบทเป็นต้นว่า กายทุจริตํ ปหาย ได้แก่ กายทุจริต 3 อย่าง
วจีทุจริต อย่างมโนทุจริต 3 อย่าง. พึงทราบกายสุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจ
ตรงกันข้ามกับกายทุจริตเป็นต้นนั้น ด้วยคำประมาณเท่านี้ย่อมเป็นอันท่าน
กล่าวถึงปาฏิโมกขศีลด้วยการสำรวมทางกายและทางวาจา. ศีลสามด้วยการ
สำรวมทางใจ ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วถึงจตุปาริสุทธศิล ล้วนในสูตรนี้
ทั้งสิ้น พึงทราบว่าท่านกล่าวสติปัฏฐานมีสุจริตเป็นมูลว่า คลุกเคล้าด้วย
โลกุตตระ. สติปัฏฐานเป็นมูลแห้งโพชฌงค์ 7 ว่าเป็นบุพภาค. โพชฌงค์มี

สติปัฏฐานเป็นมูล แม้เหล่านั้นว่าเป็นบุพภาค. ส่วนโพชฌงค์ซึ่งเป็นมูล
แห่งวิชชาและวิมุตติ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า เป็นโลกุตตระแท้.
อรรถกถากุณฑลิยสูตรที่ 6

7. กูฏสูตร



ผู้เจริญโพชฌงค์ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน


[401] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนยอดทั้งหมดน้อมใบสู่ยอด
โน้มไปสู้ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7 กระทำ
ให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[402] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญโพชฌงค์ กระทำให้มาก
ซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ . น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา
ส้มโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7 อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่
นิพพาน โน้มโปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
จบกูฏสูตรที่ 7

ส่วนอรรถกถากูฏสูตรที่ 7 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.