เมนู

อรรถกถากุณฑลิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกุณฑลิยสูตรที่ 6.
บทว่า อารามนิยาทิ ได้แก่ ชื่อว่า เที่ยวไปในอาราม เพราะอาศัย
อารามเป็นที่ไป. บทว่า ปริสาวจโร ได้แก่ เที่ยวไปในบริษัท. คนพาลบ้าง
บัณฑิตบ้าง มารวมกันอยู่ ชื่อว่า บริษัท. ส่วนผู้ใด ย่อมสามารถเพื่อย่ำยี
วาทะของคนอื่นแล้ว จึงแสดงวาทะของตนได้ ผู้นี้ชื่อว่า เที่ยวไปในบริษัท.
บทว่า อาราเมน อารามํ ความว่า ข้าพเจ้าเดินไปเนือง ๆ สู่อารามจาก
อาราม อธิบายว่า มิได้เดินไปภายนอก แม้ในอุทยานก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า เข้าไปสู่อารามหนึ่ง จากอารามหนึ่ง เข้าไปสู่
อุทยานหนึ่ง จากอุทยานหนึ่ง. บทว่า อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสํ ความว่า
วาทะดังนี้ การเปลื้องวาทะดังนี้ โดยนัยนี้ว่า การถามมีอย่างนี้ การตอบ
มีอย่างนี้ การถือเอาความอย่างนี้ ไขความอย่างนี้ ดังนี้ นั่นเป็นอานิสงส์
บทว่า อุปารมฺภานิสํสํ ได้แก่ มีโทษในวาทะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้ว่า
นี้เป็นโทษในการถาม นี้เป็นโทษในการตอบ ดังนี้. บทว่า กถํ ภาวิโต
กิณฺฑลิย อินฺทํริยสฺวโร
ความว่า พระศาสดาทรงรู้ว่า ก็ปริพาชกถาม
ฐานะมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เขาไม่อาจเพื่อจะถามอีก เมื่อทรงถาม
จึงทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยพระองค์โดยทรงดำริว่า คราวแรก เทศนานี้ไม่เป็นไป
ต่อเนื่องกัน บัดนี้ เราจักให้เทศนานี้ถึงการต่อเนื่องกัน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มนาปํ นาภิชฺณายติ ได้แก่ ย่อมไม่
เพ่งอารมณ์ที่น่าปรารถนา. บทว่า นาวิหึสติ ได้แก่ ย่อมไม่ขึ้งเคียดด้วย
ความยินดี อันมีอามิส. บทว่า ตสฺส ฐิโต จ กาโย โหติ ฐิตํ จิตฺตํ