เมนู

6. กุณฑลิยสูตร



ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์


[394] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมฤค-
ทายวัน ใกล้เมืองสาเกต. ครั้งนั้นแล กูณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชอบเที่ยวไปใน
อารามและชอบเข้าไปในที่ชุมนุมชน นี้เป็นเหตุการณ์ของข้าพระองค์ ผู้บริโภค
อาหารเช้าแล้ว ในเวลาหลังอาหาร ข้าพระองค์เดินไปเนือง ๆ เที่ยวไปเนืองๆ
สู่อารามจากอาราม สู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพระองค์เห็นสมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่ง กําลังกล่าวถ้อยคำมีวาทะและการเปลื้องวาทะว่าดังนี้เป็น
อานิสงส์ และมีความขุ่นเคืองเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็น
อานิสงส์อยู่เล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกุณฑลิยะ ตถาคตมี
วิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์อยู่.
[395] ก. ข้าแต่ท่านพระโคคมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
ก. ข้าแต่ท่านพระโคคมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์.

พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์.
ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ให้บริบูรณ์
พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต 3 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์
ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์.
[396] พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์ ดูก่อนกุณฑลิยะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม้ยินดี ไม่ขึ้งเคียด
ไม่ยังความกําหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภาย
ใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อ
ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็
คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้ม
รสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจด้วยใจ
แล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกําหนัดให้เกิด และกายของเธอ
ก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้ธรรมารมณ์
ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ
มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน
หลุดพ้นดีแล้ว.

ดูก่อนกุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่
ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท เพราะรูปทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ กายของ
เธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุฟังเสียงด้วย
โสต ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะ ฯลฯ ลี้มรสด้วยชิวหา ฯลฯ ถูกต่องโผฏฐัพพะด้วย
กาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท
เพราะธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่
มั่น คงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรียสังวรอันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต ณ ให้บริบูรณ์.
[397] ดูก่อนกุณฑลิยะ ก็สุจริตเหล่านั้นอันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต เจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต เจริญ
มโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต สุจริต 3 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์.
[398] ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
เนือง ๆ อยู่ ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ ฯลฯ ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน 4 อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังโพชฌงค์ 4 ให้บริบูรณ์.

[399] ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ 7 อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้สมบูรณ์
[400] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กุณฑลิยปริพาชกได้
กราบทูลพระผู้มีพระภคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่าน
พระโคคมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วย
หวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้ง
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้น
ไป.
จบกุณฑลิยสูตรที่ 6

อรรถกถากุณฑลิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกุณฑลิยสูตรที่ 6.
บทว่า อารามนิยาทิ ได้แก่ ชื่อว่า เที่ยวไปในอาราม เพราะอาศัย
อารามเป็นที่ไป. บทว่า ปริสาวจโร ได้แก่ เที่ยวไปในบริษัท. คนพาลบ้าง
บัณฑิตบ้าง มารวมกันอยู่ ชื่อว่า บริษัท. ส่วนผู้ใด ย่อมสามารถเพื่อย่ำยี
วาทะของคนอื่นแล้ว จึงแสดงวาทะของตนได้ ผู้นี้ชื่อว่า เที่ยวไปในบริษัท.
บทว่า อาราเมน อารามํ ความว่า ข้าพเจ้าเดินไปเนือง ๆ สู่อารามจาก
อาราม อธิบายว่า มิได้เดินไปภายนอก แม้ในอุทยานก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า เข้าไปสู่อารามหนึ่ง จากอารามหนึ่ง เข้าไปสู่
อุทยานหนึ่ง จากอุทยานหนึ่ง. บทว่า อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสํ ความว่า
วาทะดังนี้ การเปลื้องวาทะดังนี้ โดยนัยนี้ว่า การถามมีอย่างนี้ การตอบ
มีอย่างนี้ การถือเอาความอย่างนี้ ไขความอย่างนี้ ดังนี้ นั่นเป็นอานิสงส์
บทว่า อุปารมฺภานิสํสํ ได้แก่ มีโทษในวาทะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้ว่า
นี้เป็นโทษในการถาม นี้เป็นโทษในการตอบ ดังนี้. บทว่า กถํ ภาวิโต
กิณฺฑลิย อินฺทํริยสฺวโร
ความว่า พระศาสดาทรงรู้ว่า ก็ปริพาชกถาม
ฐานะมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เขาไม่อาจเพื่อจะถามอีก เมื่อทรงถาม
จึงทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยพระองค์โดยทรงดำริว่า คราวแรก เทศนานี้ไม่เป็นไป
ต่อเนื่องกัน บัดนี้ เราจักให้เทศนานี้ถึงการต่อเนื่องกัน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มนาปํ นาภิชฺณายติ ได้แก่ ย่อมไม่
เพ่งอารมณ์ที่น่าปรารถนา. บทว่า นาวิหึสติ ได้แก่ ย่อมไม่ขึ้งเคียดด้วย
ความยินดี อันมีอามิส. บทว่า ตสฺส ฐิโต จ กาโย โหติ ฐิตํ จิตฺตํ