เมนู

ในโพชฌงค์ที่เหลือ ก็มีนัยนี้นี้แล. สูตรนี้ท่านกล่าวโพชฌงค์ที่มีกำลังของ
พระเถระ.
ก็เมื่อใดพระเถระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหลัก ย่อมเข้าผลสมาบัติ
เมื่อนั้น โพชฌงค์ 6 นอกนี้ ย่อมไปตามสติสัมโพชฌงค์นั้น. เมื่อใด พระ-
เถระทำโพชฌงค์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นหลักในบรรดาโพชฌงค์ มีธรรม
วิจยะเป็นต้น แม้เมื่อนั้น โพชฌงค์ที่เหลือ ย่อมไปตามโพชฌงค์นั้นแล.
พระเถระ เมื่อแสดงความชำนาญที่ประพฤติมาของตน ในผลสมาบัติอย่างนี้
จึงกล่าวสูตรนี้ ด้วยประการดังนี้.
จบอรรถกถาวัตตสูตรที่ 4.

5. ภิกขุสูตร



เรื่องว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้


[390] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่าโพชฌงค์ ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า โพชฌงค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้.
[391] ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
[392] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

[393] เมื่อภิกษุนั้นเจริญโพชฌงค์ 7 ประการนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่ง
รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย้อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า
โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ฉะนี้แล.
จบภิกขุสูตรที่ 5

อรรถกถาภิกขุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ 5.
บทว่า โพธาย สํวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อตรัสรู้. ถามว่า
เพื่อตรัสรู้อะไร ตอบว่า ตรัสรู้นิพพาน อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ด้วย
มรรค ตรัสรู้กิจอันตนทำแล้วด้วยปัจจเวกขณญาณ. มีอธิบายว่า อีกอย่าง
หนึ่ง โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อตรัสรู้ เพราะการตัดกิเลสได้ขาดด้วยมรรคเพื่อ
ความเป็นพุทธะ ด้วยผลดังนี้ก็มี. ด้วยเหตุนั้นแล ในที่นี้ ท่านจึงแสดงไว้ทั้ง
หมดว่าการกระทำนิพพานให้แจ้ง การพิจารณาซึ่งการละกิเลส.
จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ 5