เมนู

เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้
ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ
[389] ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็
รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา
เคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.
จบวัตตสูตรที่ 4

อรรถกถาวัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวัตตสูตรที่ 4.
บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ความว่า ถ้าสติสัม-
โพชฌงค์ย่อมมีแก่เราตังพรรณนามานี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ ความว่า
เรารู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้อย่างนี้. บทว่า สุสมารทฺโธ
ได้แก่ บริบูรณ์ดีแล้ว. ในบทว่า ติฎฺฐนฺต นี้ สติสัมโพชณงค์ย่อมตั้งอยู่
โดยอาการแปด. คือ พระเถระย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะ
ไม่ระลึกถึงความเกิด เพราะระลึกถึงความไม่เกิด คือ ความเป็นไป ความ
ไม่เป็นไป นิมิต ไม่มีนิมิต สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะไม่ระลึก
ถึงสังขาร เพราะระลึกถึงอสังขาร ดังนั้น สติสัมโพชฌงค์ จึงตั้งอยู่ด้วย
อาการแปดเหล่านี้แล. พระเถระย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ เมื่อประพฤติ
ย่อมประพฤติด้วยอาการแปดตรงกันข้ามกันอาการที่กล่าวแล้ว นั่นแหละ. แม้

ในโพชฌงค์ที่เหลือ ก็มีนัยนี้นี้แล. สูตรนี้ท่านกล่าวโพชฌงค์ที่มีกำลังของ
พระเถระ.
ก็เมื่อใดพระเถระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหลัก ย่อมเข้าผลสมาบัติ
เมื่อนั้น โพชฌงค์ 6 นอกนี้ ย่อมไปตามสติสัมโพชฌงค์นั้น. เมื่อใด พระ-
เถระทำโพชฌงค์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นหลักในบรรดาโพชฌงค์ มีธรรม
วิจยะเป็นต้น แม้เมื่อนั้น โพชฌงค์ที่เหลือ ย่อมไปตามโพชฌงค์นั้นแล.
พระเถระ เมื่อแสดงความชำนาญที่ประพฤติมาของตน ในผลสมาบัติอย่างนี้
จึงกล่าวสูตรนี้ ด้วยประการดังนี้.
จบอรรถกถาวัตตสูตรที่ 4.

5. ภิกขุสูตร



เรื่องว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้


[390] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่าโพชฌงค์ ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า โพชฌงค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้.
[391] ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
[392] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ