เมนู

โพชฌงคสังยุต



ปัพพตวรรคที่ 1



1. หิมวันตสูตร



ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย


[355] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์
มีกายเติบโต มีกําลัง ครั้นกายเติบโต มีกําลังขุนเขานั้นแล้ว ย้อมลงสู่
บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้ว ย้อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้ว
ย่อมลงสู่แม้น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำใหญ่ ครั้นลงสู่
แม่น้ำใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้น ย่อมถึงความโตใหญ่
ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์
ในธรรมทั้งหลง ฉันนั้นเหมือนกัน.
[356] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญโพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่
ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ย่อมเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ . . . วิริยสัมโพชฌงค์. . . ปีติ
สัมโพชฌงค์. . . ปัสสัทธิสัมโพชณงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ 7
กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรม
ทั้งหลาย.
จบหิมวันตสูตรที่ 1

อรรถกถาโพชฌงคสังยุต


ปัพพตวรรควรรณนาที่ 1



อรรถกถาหิมวันตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ 1 แห่งโพชฌังคสังยุต.
บทว่า นาคา ความว่า นาคแม้เหล่านี้ อยู่ระหว่างคลื่น บนหลัง
มหาสมุทร หาอยู่ในวิมานไม่. นาคเกล้านั้นมีกายเติบโตเป็นต้น เพราะอาศัย
ภูเขาหิมวันต์ ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลัง. ในบทว่า
โพชฺณงฺเค นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของ
ผู้ตรัสรู้. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ
เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ
ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะ
หลายอย่างมี ลีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฎฐานะ
ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค ทำความเพียร
ในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉท-
ทิฏฐิ
ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง และอภินิเวส
ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็น
โลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อม
ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ 4 หรือย่อมกระทำ
นิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ 7
ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์