เมนู

15. นิฆสูตร



ทุกข์ 3


[325] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ 3 อย่างนี้ 3
อย่างเป็นไฉน ได้แก่ทุกข์ คือ ราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 2 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ทุกข์ 3 อย่างนี้แล.
[326] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ 3 อย่างนี้
แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้ ฯลฯ
จบนิฆสูตรที่ 15

อรรถกถานิฆสูตร



บทว่า นีฆา ได้แก่ทุกข์. ก็ในบทนี้มีคำอธิบายว่า ทุกข์ทั้งหลาย
เกิดแก่บุรุษ ย่อมทำลายบุรุษนั้นเสีย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นิฆา. สูตรที่
เหลือในวรรคนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถานิฆสูตรที่ 15

16. เวทนาสูตร



เวทนา 3


[327] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 อย่างนี้ 3
อย่างเป็นไฉน คือ สุขเวทนา 1 ทุกขเวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 อย่างนี้แล.
[328] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกําหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเวทนา 3 อย่าง
นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้ ฯลฯ
จบเวทนาสูตรที่ 16

12. ปฐมตัณหาสูตร



ตัณหา 3


[329] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา 3 อย่างนี้ 3
อย่างเป็นไฉน คือ กามตัณหา 1 ภวตัณหา 1 วิภวตัณหา 1 ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ตัณหา 3 อย่างนี้แล.
[330] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา 3 อย่าง
นี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ