เมนู

อรรถกถากุมภสูตร



บทว่า กุมฺโภ ได้แก่ หม้อน้ำ. บทว่า โน ปจฺจาวมติ คือ
น้ำไม่กลับเข้าไป. อธิบายว่า ไม่ไหลเข้าภายใน.
จบอรรถกถากุมภสูตรที่ 8

9. สุกกสูตร*



ทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบย่อมทำงายอวิชชา


[280] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดือยข้าวสาลีหรือเดือย
ข้าวยวะ ตั้งไว้เหมาะ มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือ
ว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยตั้ง
ไว้เหมาะ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา
ให้เกิด จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิทาน เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรค
ภาวนาตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิที่
ตั้งไว้ชอบ.
[281] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมทำลายอวิชชา ย้อมยังวิชชา
ให้เกิด ย่อมทำนิพพานให้แจ้ง เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาที่
ตั้งไว้ชอบอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
* สูตรที่ 9. ไม่มีอรรถกถาแก้

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษาย่อมทำลายอวิชชา ย้อมยังวิชชาให้เกิด
ย่อมทำนิพพานให้แจ้ง เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ชอบ
อย่างนี้แล.
จบสุกกสูตรที่ 9

10. อากาสสูตร



ผู้เจริญอริยมรรคย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์


[282] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไป
ในอากาศคือ ลมตะวันออกบ้าง ลมตะวันตกบ้าง ลมเหนือบ้าง ลมใต้บ้าง
ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง ลมพัดเบา ๆ บ้าง
ลมพัดแรงบ้าง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8
เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 สติปัฏฐาน 4 ย้อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน 4 ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง
อิทธิบาท 4 ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อินทรีย์ 5 ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์บ้าง พละ 5 ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง โพชฌงค์ 7 ย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์บ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.
[283] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อย่างไรเล่า สติ
ปัฏฐาน 4 จึงถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน 4 . . . อิทธิบาท 4 . . .
อินทรีย์ 5 . . . พละ 5 . . . โพชฌงค์ 7 จึงถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง ดู