เมนู

อรรถกถาพราหมณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสูตรที่ 4.
บทว่า สพฺพเสเตน วฬวาภิรเถน ความว่า ด้วยรถเทียมด้วยม้า
4 ตัวอันขาวล้วน. ได้ยินว่า รถมีล้อและซี่กงทั้งหมดได้หุ้มด้วยเงิน.
ก็ชื่อว่า รถมี 2 อย่าง คือ รถรบ 1 รถเครื่องประดับ 1 ในรถนั้น รถรบ
มีสัณฐานสี่เหลี่ยมไม่ใหญ่นัก สามารถบรรทุกคนได้ 2 คน หรือ 3 คน
รถเครื่องประดับเป็นรถใหญ่ คือ โดยยาวก็ยาว โดยกว้างก็กว้าง. คนถือร่ม
ถือวาลวัชนี ถือพัดใบตาล ย่อมอยู่ในรถนั้น ดังนั้นคน 8 คน หรือ 10 คน
สามารถเพื่อจะยืนก็ได้ นั่งก็ได้ นอนก็ได้ ตามสบายอย่างนี้นั่นแล แม้รถนี้
จัดเป็นรถเครื่องประดับ.
บทว่า เสตา สุทํ อสฺสา ความว่า ม้าขาวคือมีสีขาวตามปกติ.
บทว่า เสตาลงฺการา ความว่า เครื่องประดับของม้าเหล่านั้น ได้เป็นของ
สำเร็จด้วยเงิน. บทว่า สโต รโถ ความว่า รถชื่อว่าขาว เพราะหุ้มด้วยเงิน
และเพราะประดับด้วยงาในที่นั้น ๆ โดยนัยอันกล่าวแล้วแล. บทว่า เสตปริ-
วาโร
ความว่า รถเหล่าอื่นหุ้มด้วยหนังราชสีห์บ้าง หุ้มด้วยหนังเสือบ้าง
หุ้มด้วยผ้ากัมพลเหลืองบ้าง ฉันใด รถนี้หาเป็นฉันนั้นไม่. ส่วนรถนี้ ได้หุ้ม
ด้วยผ้าอย่างดี. บทว่า เสตา รสฺมิโย ความว่า เชือกอันหุ้มด้วยเงินและ
แก้วประพาฬ. บทว่า เสตา ปโตทลฏฺฐิ ความว่า แม้ด้ามปฏักก็หุ้ม
ด้วยเงิน.
บทว่า เสตํ ฉตฺตํ ความว่า แม้ร่มอันเขาให้ยกขึ้นในท่ามกลางรถ
ก็ขาว. บทว่า เสตํ อุณฺหีสํ ความว่า ผ้าโพกทำด้วยเงินกว้าง 7 นิ้วก็ขาว.

บทว่า เสตานิ วตฺถานิ ความว่า ผ้านุ่งขาว คือมีสีดังก้อนฟองน้ำ. ในผ้า
เหล่านั้น ผ้านุ่งมีราคาห้าร้อย ผ้าห่มมีราคาพันหนึ่ง. บทว่า เสตา อุปาหนา
ความว่า ธรรมดาว่า รองเท้าย่อมมีได้ สำหรับคนผู้เดินทาง หรือสำหรับคน
ผู้เข้าสู่ดง. ส่วนรองเท้านี้ สำหรับขึ้นรถ. ด้วยเหตุนั้น พึงทราบว่า นั่นชื่อว่า
เครื่องประดับเท้าของเขา ผสมเงิน อันสมควรแก่รองเท่านั้น ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้. บทว่า เสตาย สุทํ วาลวีชนิยา ความว่า จามรและพัดวาลวัชนี
มีสีขาว มีด้ามทำด้วยแก้วผลึก. ก็เครื่องประดับเฉพาะเท่านี้ขาว ได้มีแล้ว
แก่พราหมณ์นั้นอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้. แม้เครื่องประดับของพราหมณ์นั้น
ได้ทำด้วยเงินมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า ก็พราหมณ์นั้น ลูบไล้ด้วยเครื่องลูบไล้ขาว
ประดับดอกไม้ขาว ที่นิ้วทั้ง 10 สวมแหวน ที่หูทั้งสองใส่ต่างหูดังนี้. แม้
พวกพราหมณ์ผู้เป็นบริวารของเขาได้มีประมาณหนึ่งหมื่น ผ้าเครื่องลูบไล้
ดอกไม้และเครื่องประดับขาว ได้มีแล้วประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. ส่วนข้อ
นั้นอันใดอันท่านกล่าวว่า สาวตฺถิยา นิยฺยายนฺตํ ดังนี้ ความแจ่มแจ้งแห่ง
การออกไปในข้อนั้นดังต่อไปนี้.
ว่าโดยกิจ พราหมณ์นั้น ย่อมกระทำประทักษิณนคร 6 เดือนครั้ง
หนึ่ง คนประกาศไปล่วงหน้าว่า แต่นี้ไปพราหมณ์จักกระทำประทักษิณนคร
โดยวันทั้งหลายประมาณเท่านี้ ชนเหล่าใดฟังการประกาศนั้นแล้ว กำลังออกไป
จากนคร ชนเหล่านั้นจะยังไม่หลีกไป. แม้ชนเหล่าใด หลีกไปแล้ว แม้ชน
เหล่านั้นย่อมกลับ ด้วยคิดว่า พวกเราจักได้เห็นสิริสมบัติของท่านผู้มีบุญ.
พราหมณ์ย่อมเที่ยวไปสู่นครตลอดวันใด ชาวเมืองทั้งหลาย กวาดถนนในนคร
ในกาลนั้น แต่เช้าตรู่ เกลี่ยทรายลง โปรยด้วยดอกไม้ทั้งหลาย อันมีข้าวตอก
เป็นที่ห้า ทั้งหม้อน้ำ ให้ช่วยกันยกต้นกล้วยทั้งหลาย และธงทั้งหลายขึ้นแล้ว
ย่อมทำนครทั้งสิ้นให้อบอวลด้วยกลิ่นธูป.

พราหมณ์สนานศีรษะแต่เช้าตรู่ บริโภคอาหารเช้าแล้ว ก็แต่งตัว
ด้วยเครื่องอาภรณ์มีผ้านุ่งขาวเป็นต้น โดยนัยอันกล่าวแล้วแล ลงจากปราสาท
ขึ้นรถ ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ก็ตกแต่งด้วยผ้าเครื่องลูบไล้และดอกไม้-
ขาวทั้งหมด ถือร่มขาวแวดล้อมพราหมณ์นั้นอยู่. แต่นั้น ชนทั้งหลายย่อม
โปรยผลาผลแก่พวกเด็กหนุ่มก่อน เพื่อการประชุมของมหาชน ต่อแต่นั้น
ย่อมโปรยเงินมาสก ต่อแต่นั้น จึงโปรยกหาปณะทั้งหลาย. มหาชนย่อม
ประชุมกัน การโห่ร้องและการโยนผ้าก็ย่อมเป็นไป ครั้งนั้น พราหมณ์ย่อม
เที่ยวไปสู่นครเพื่อมหาสมบัติ เมื่อชนทั้งหลายผู้มีความต้องการด้วยมงคลและ
ต้องการสวัสดีเป็นต้น กระทำมงคลและสวัสดีอยู่. มนุษย์ทั้งหลายผู้มีบุญขึ้น
ไปบนปราสาทมีชั้นเดียวเป็นต้น เปิดช่องหน้าต่างเช่นกับปีกนกแก้ว แลดูอยู่
แม้พราหมณ์ย่อมมุ่งตรงไปทางประตูทิศใต้ คล้ายจะครอบครองนครด้วยยศ
และสิริสมบัติของตน ข้อนี้ท่านหมายถึงข้อนั้นแล้ว จึงกล่าว.
บทว่า ตเมนํ ชโน ทิสฺวา ความว่า มหาชนเห็นรถนั้น. บทว่า
พฺรหฺมํ ได้แก่ เป็นชื่อของผู้ประเสริฐ. บทว่า พฺรหฺมํ วต โภ ยานํ
ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานเช่นยานอันประเสริฐหนอ.
บทว่า อิมสฺเสว โข เอตํ ความว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาว่า มนุษย์
ทั้งหลายให้ทรัพย์แก่ผู้กล่าวสรรเสริญแล้ว ย่อมให้ขับร้องเพลงขับสรรเสริญ
ทาริกาทั้งหลายของตนว่า เป็นผู้น่ารัก น่าดู มีทรัพย์มาก มีโภคะมากดังนี้
แต่ก็หาเป็นผู้น่ารัก หรือมีโภคะมาก ด้วยเพียงการกล่าวสรรเสริญนั้นไม่
มหาชนเห็นรถของพราหมณ์อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ยานนั้นจะชื่อว่า
เป็นยานประเสริฐด้วยเพียงการกล่าวสรรเสริญก็หามิได้ ที่จริงยานนั้นจะชื่อว่า
ลามกเลว. ดูก่อนอานนท์ แต่โดยปรมัตถ์ ยานนั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมี

องค์ 8 นี้เท่านั้นแล. ก็อริยมรรคนี้ประเสริฐ เพราะปราศจากโทษทั้งปวง
ด้วยว่า พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไปสู่นิพพานด้วยอริยมรรคนี้ ดังนั้น จึงควร
กล่าวว่า พรหมยานบ้าง ว่าธรรมยานบ้าง เพราะเป็นธรรมและเป็นยาน
ว่ารถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง เพราะไม่มีสิ่งอันยิ่งกว่า และเพราะชนะ
สงครามคือกิเลสแล้ว.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความที่อริยมรรคนั้นไม่มี
โทษ และเป็นพิชัยสงคราม จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ราควินยปริโยสานา
ดังนี้ . ในบทนั้น สัมมาทิฏฐิ เมื่อกำจัดราคะย่อมให้หมด คือย่อมถึงได้แก่ย่อม
สำเร็จเป็นที่สุด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด. ในบท
ทั้งปวงก็นัยนี้แล.
บทว่า ยสฺส สทฺธา จ ปญฺญา จ ความว่า สำหรับยานคือ อริย-
มรรค มีธรรม 2 เหล่านี้คือศรัทธา ด้วยสามารถแห่งสัทธานุสารี และปัญญา
ด้วยสามารถแห่งธัมมานุสารี เป็นแอกมีศรัทธาเป็นทูบ อธิบายว่า ประกอบ
ในแอกมีตนเป็นท่ามกลางในอริยมรรคนั้น. บทว่า หิริ อีสา ความว่า หิริ
อันเกิดขึ้นภายในพร้อมด้วยโอตตัปปะอันเกิดขึ้นในภายนอกประกอบกับด้วยตน
เป็นงอนของรถคือ มรรค. บทว่า มโน โยตฺตํ ความว่า วิปัสสนาจิตและ
มรรคจิตเป็นเชือกชัก. เหมือนเชือกที่ทำด้วยปอเป็นต้นของรถ ย่อมกระทำ
โคทั้งหลายให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน คือให้รวมกันได้ฉันใด วิปัสสนาจิตอัน
เป็นโลกิยะของรถคือมรรคมี 50 กว่า วิปัสสนาจิตอันเป็นโลกุตระ ย่อมทำ
กุศลธรรม 60 กว่า ให้เนื่องกันคือให้รวมกันได้ฉันนั้นเหมือนกันแล.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มโน โยตฺตํ ดังนี้. บทว่า
สติ อารกฺขสารถิ ความว่า สติสัมปยุตด้วยมรรค ชื่อว่า สารถีผู้ควบคุม.
ผู้ใดย่อมประกอบในการจัดทูบ หยอดเพลา ส่งรถไป ย่อมกระทำม้าเทียมรถ

ให้หมดพยศ ผู้นั้นชื่อว่า สารถีผู้รักษาสามารถฉันใด สติของรถคือมรรค
ก็ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า สตินี้มีการรักษาเป็นเหตุปรากฏและย่อมพิจารณาคติ
แห่งธรรมทั้งหลายทั้งกุศลและอกุศล ดังนี้.
บทว่า รโถ ได้แก่ รถคืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8. บทว่า
สีลปริกฺขาโร ความว่า รถมีจาตุปาริสุทธิศีลเป็นเครื่องประดับ. บทว่า
ฌานกฺโข ความว่า มีเพลาทำด้วยฌาน ด้วยสามารถแห่งองค์ฌาน 5
สัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า จกฺกวีริโย คือมีความเพียรเป็นล้อ อธิบายว่า
ความเพียร 2 กล่าวคือทางกายและทางจิต เป็นล้อของความเพียร. บทว่า
อุเปกฺขา ธุรสมาธิ ความว่า สมาธิของทูบ ชื่อว่า ธุรสมาธิ อธิบายว่า
ความที่ส่วนของแอกแม้ทั้งสองสม่ำเสมอ เพราะไม่มีอาการขึ้น ๆ ลง ๆ. ฝ่าย
ตัตรมัชฌัตตุเปกขานี้ ย่อมนำความที่จิตตุปบาทหดหู่และฟุ้งซ่านไปเสียแล้ว
จึงดำรงจิตในท่ามกลางแห่งการประกอบความเพียร เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงตรัสว่า เป็นธุรสมาธิของรถคือมรรคนี้. บทว่า อนิจฺฉา ปริวารณํ
ความว่า ความไม่อยากได้ กล่าวคืออโลภะของรถคืออริยมรรคแม้นี้ ชื่อว่า
เป็นประทุน เหมือนหนังราชสีห์เป็นต้น เป็นเครื่องหุ้มภายนอกรถฉะนั้น.
บทว่า อพฺยาปาโท ได้แก่ เมตตาและส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.
บทว่า อวิหึสา ได้แก่ กรุณาและส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา. บทว่า วิเวโก
ได้แก่ วิเวก 3 อย่างมีกายวิเวกเป็นต้น. บทว่า ยสฺส อาวุธํ ความว่า
อาวุธ 5 อย่าง อย่างนี้ ย่อมมีแก่กุลบุตรผู้ดำรงอยู่ในรถคืออริยมรรค คนยืน
อยู่ในรถ ย่อมแทงสัตว์ทั้งหลายด้วยอาวุธ 5 ไค้ฉันใด แม้โยคาวจร ยืนอยู่
ในรถแห่งโลกิยมรรค และโลกุตรมรรคนี้ ย่อมแทงซึ่งโทสะด้วยเมตตา แทง
ความเบียดเบียนด้วยกรุณา แทงความคลุกคลีคณะด้วยกายวิเวก แทงคลุกคลี
กิเลสด้วยจิตวิเวก และแทงอกุศลทั้งปวงด้วยอุปธิวิเวก ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวอาวุธ 5 อย่างนั้น ย่อมเป็นของกุลบุตรนั้น. บทว่า ตีติกฺขา
ความว่า ความอดทนด้วยความอดกลั้นคำของคนพูดชั่วเลวทราม. บทว่า
จมฺมสนฺนาโห ได้แก่ มีหนังเป็นเกราะ เหมือนคนรถสวมเกราะหนังยืนอยู่
บนรถย่อมอดทนต่อลูกศรทั้งหลายอันมาแล้วและมาแล้ว ลูกศรทั้งหลายย่อม
แทงบุคคลนั้นไม่ได้ ฉันใด ภิกษุผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ ย่อมอดทน
ถ้อยคำอันมาแล้วและมาแล้วได้ ถ้อยคำเหล่านั้น ย่อมแทงภิกษุผู้ประกอบด้วย
อธิวาสนขันติไม่ได้ ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความอดทนเป็น
เกราะหนัง. บทว่า โยคกฺเขมาย วตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษม
จากโยคะ 4 คือ เพื่อนิพพาน กุลบุตรผู้มุ่งนิพพานย่อมดำเนินไปอย่างเดียว
อธิบายว่า ย่อมไม่หยุด ย่อมไม่ทำลาย ดังนี้.
บทว่า เอตทตฺตนิ สมฺภูตํ ความว่า ยานคือมรรคนั่น ย่อมชื่อว่า
เกิดในตน เพราะความที่ตนอาศัยการทำเยี่ยงบุรุษจงได้. บทว่า พฺรหฺมยานํ
อนุตฺตรํ
ได้แก่ ยานอันประเสริฐ ไม่มียานอื่นเหมือน. บทว่า นิยฺยนฺติ
ธีรา โลกมฺหา
ความว่า ยานนั่น ย่อมมีแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นเป็น
นักปราชญ์ คือ คนพวกบัณฑิต ย่อมออก คือย่อมไปจากโลก. บทว่า
อญฺญทตฺถุ ได้แก่ โดยส่วนเดียว. บทว่า ชยํ ชยํ ความว่า ชัยชนะอยู่
ซึ่งข้าศึกทั้งหลายมีราคะเป็นต้น.
จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ 4

5. กิมัตถิยสูตร



ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์


[25] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์อย่างนี้
ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม
เพื่อประโยชน์อะไร พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเรา
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ พวกข้า
พระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง
พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึง
ฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ.
[26] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช่างเถิด
พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตามคำที่เรากล่าว
ไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการ
คล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ เพราะพวก
เธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์.
[27] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถาม
พวกเธออย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อ