เมนู

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.
ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็บรรดาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ
ละราคะ โทสะ โมหะนั้น.
สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ
ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น.
ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละราคะ
โทสะ โมหะนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.
จบ ธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ 3

อรรถกถาธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ 3



บทว่า เต โลเก สุคตา ความว่า ท่านเหล่านั้น ชื่อว่า ไป
ดีแล้ว เพราะละราคะเป็นต้นไปแล้ว. บทว่า ทุกฺขสฺส โข อาวุโส
ปริญฺญตฺถํ
ความว่า เพื่อกำหนดรู้วัฏทุกข์
จบ ธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ 3

4. ภิมัตถิยสูตร

1

ว่าด้วยประโยชน์แห่งการประพฤติพรหมจรรย์



[500] ดูก่อนท่านสารีบุตร ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณะโคดม เพื่อประโยชน์อะไร ?
1. สูตรที่ 4-13 ไม่มีอรรถกถาแก้.

สา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์.
ช. ดูก่อนผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด
รู้ทุกข์นั้น.
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.
ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์นั้น.
สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 คือ ความเห็น
ชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น
ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้
ทุกข์นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.
จบ กิมัตถิยสูตรที่ 4

5. อัสสาสัปปัตตสูตร



ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจ



[501] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจ ๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ.
สา. ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ.