เมนู

9. ตติยสมณพราหมณ์สูตร



ว่าด้วยผู้เป็นและไม่เป็นสมณพราหมณ์



[444] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งย่อมไม่รู้เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทา
เครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯ ล ฯ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของ
ความเป็นสมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
จบ ตติยสมณพราหมณสูตรที่ 9

10. สุทธิกสูตร



ว่าด้วยเวทนา 3



[445] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 เหล่านี้ เวทนา 3
เป็นไฉน. คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เวทนา 3 เหล่านี้แล.
จบ สุทธิสูตรที่ 10

11. นิรามิสสูตร



ว่าด้วยปีติสุขมีอามิสและไม่มี



[446] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่
ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่ สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่
สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิส
มีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่. วิโมกข์มีอามิสมีอยู่
วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่.

[447] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน. กามคุณ 5
เหล่านี้ กามคุณ 5 เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่
ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้น
เพราะอาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้ เราเรียกว่า ปีติมีอามิส.
[448] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มี
วิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส
[449] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีเป็นไฉน.
ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตชึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จาก
โทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส.
[450] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน. กามคุณ 5
เหล่านี้ กามคุณ 5 เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่
ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 เหล่านี้ สุขโสมนัส
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส.

[451] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เรา
เรียกว่า สุขไม่มีอามิส.
[452] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็สุข ไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็น
ไฉน. สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้ว
จากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มี
อามิส.
[453] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน. กาม
คุณ 5 เหล่านี้ กามคุณ 5 เป็นไฉน. คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 เหล่านี้แล
อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามี
อามิส.
[454] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
สดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้
เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส.

[455] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขา
ไม่มีอามิสเป็นไฉน. อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่ง
หลุดพ้นแล้วจาก ราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มี
อามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส.
[456] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน. วิโมกข์
ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่า
วิโมกข์ไม่มีอามิส.
[457] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มี
อามิสเป็นไฉน. วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็น จิตซึ่งหลุดพ้น
แล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่า
วิโมกข์ไม่มีอามิส.
จบ นิรามิสสูตรที่ 11

อรรถกถานิรามิสสูตรที่ 11



พึงทราบวินิจฉัยในนิรามิสสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สามิสา ปีติมีอามิสด้วยอามิสคือกิเลส. บทว่า นิรามิสตรา
ความว่า ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติในฌานแม้ที่ไม่มีอามิส. ถามว่าก็ในฌาน 2
ปีติย่อมเป็นมหัคคตะก็มี ย่อมเป็นโลกุตตระก็มี. ปีติในปัจจเวกขณญาณ
ย่อมเป็นโลกิยะอย่างเดียวมิใช่หรือ เพราะเหตุไร ปีตินั้น จึงไม่มีอามิสกว่า
เล่า. ตอบว่า เพราะเกิดขึ้นแล้ว ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาซึ่งธรรมอัน