เมนู

แล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดย
ปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่งคำที่
เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้ชนเหล่านั้นพึงหวังได้
คือ ชนเหล่านั้นจักพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำ
เจือด้วยน้ำนม มองกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่.

ว่าด้วยกามสุข



[413] ดูก่อนอานนท์ กามคุณ 5 เหล่านี้ กามคุณ 5 เป็นไฉน.
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ 5 เหล่านี้แล
ดูก่อนอานนท์ สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้ นี้เรา
เรียกว่ากามสุข.
[414] ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้ง
หลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอม
ตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่
ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

ว่าด้วยสุข



[415] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุข
นั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น

อันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและ
ละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.
เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.
[416] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใครยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับ
ไป มีปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิอยู่. นี้แลเป็น สุขอื่นอันน่าใคร่ ยิ่งกว่าแล
ประณีตกว่าสุขนั้น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชน
ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอม
ตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่ง
กว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.
[417] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้แลเป็นสุขอื่น
อันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแล
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและ
ละเอียดดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.
เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.

[418] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น.
[419] ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้ง
หลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้น อันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่
ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอัน
น่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.
[420] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานโดย
บริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย เพราะความ
ดับสูญแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญาทั้งหลาย
โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั้น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุข
โสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่า
นั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีต
กว่าสุขนั่น มีอยู่.
[421] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่

มีที่สุด นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น ชนเหล่าใด
แลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยม
และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.
[422] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า อะไรหน่อย
หนึ่งไม่มี นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่า
ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยม
และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.
[423] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้านวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น
อันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่
ยอมตามคำแก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอันน่า
ใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.
[421] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมบัติอยู่ นี้แลเป็น

สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และ
ย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็น
อย่างไร. นั้นเป็นฐานะที่จะมีได ้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้
พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้
ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุขเลย บุคคลย่อมได้สุข
ในฐานะใด ๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ อันเป็นสุขไว้ใน
ความสุขทุกแห่ง.
จบ ปัญจกังคสูตรที่ 9

อรรถกถาปัญจกังคสูตรที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในปัญจกังสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปญฺจกงฺโค ในบทว่า ปญฺจกงฺโค ฐปติ เป็นชื่อของช่างไม้นั้น
อนึ่ง ช่างไม้นั้น ปรากฏชื่อว่าปัญจังคะ เพราะประกอบด้วยองค์ 5 กล่าวคือ
มีด ขวาน สิ่ว ไม้ ค้อน กระปุกด้ายเส้นบรรทัด. บทว่า ฐปติ คือช่างไม้ ผู้เป็น
หัวหน้า บทว่า อุทายิ คือพระอุทายีเถระผู้บัณฑิต. บทว่า ปริยายํ คือเหตุ.
บทว่า เทฺววานนฺท คือ ดูก่อนอานนท์ เวทนา 2 ก็มี. บทว่า ปริยาเยน คือ
โดยเหตุ. ส่วนในที่นี้ พึงทราบเวทนา 2 ด้วยสามารถทางกายและทางจิต.
แม้ เวทนา 3 ด้วยสามารถสุขเป็นต้น. เวทนา 5 มีสุขินทรีย์เป็นต้น ด้วย
สามารถอินทรีย์. เวทนา 6 มีจักขุสัมผัสสชาเป็นต้นด้วยสามารถทวาร.