เมนู

2. สุขสูตร



ว่าด้วยผู้รู้ว่าเวทนาเป็นทุกข์ย่อมหมดความยินดีในเวทนา



[361] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 เหล่านี้ เวทนา 3 เป็น
ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เวทนา 3 เหล่านี้แล.
[362] ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น
สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็
ตาม ทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอกอยู่ ภิกษุ
รู้ว่า เวทนานี้เป็นทุกข์ มีความพินาศเป็นธรรมดา
มีความทำลายเป็นธรรมดา ถูกต้องความเสื่อมไป
อยู่ ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้น ด้วย
ประการอย่างนี้.

จบ สุขสูตรที่ 2

อรรถกถาสุขสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในสุขสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อทุกฺขมสุขํ สห ได้แก่ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข พร้อมด้วยสุข
และทุกข์ บทว่า อชฺฌตฺตญฺจ พิหิทฺธา จ ความว่า ของตนและของคนอื่น.
บทว่า โมสธมฺมํ คือมีความพินาศเป็นสภาพ. บทว่า ปโลกินํ คือทำลาย
มีความแตกเป็นสภาพ. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วยํ ผุสฺสํ ความว่า ถูกต้อง

ความเสื่อมเพราะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิรชฺชติ ความว่า
ย่อมคลายความยินดี ในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ในพระสูตร
แม้นี้ ตรัสเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณา ตรัสการถูกต้องด้วยญาณ
ในคาถาทั้งหลาย.
จบ อรรถกถาสุขสูตรที่ 2

3. ปหานสูตร



ว่าด้วยพึงละราคานุสัยเป็นต้นในเวทนา 3



[363] ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 เหล่านี้ เวทนา 3 เป็น
ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัยในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
พึงละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยใน
สุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุข-
เวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัด
ตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
เพราะละมานะได้โดยชอบ.
[364] ราคานุสัยนั้น ย่อมแก่ภิกษุผู้เสวยสุข
เวทนาไม่รู้สึกตัวอยู่ มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น
เครื่องสลัดออก ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวย
ทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น
เครื่องสลัดออก บุคคลเพลิดเพลินอทุกขมสุข-