เมนู

2. อนุราธสูตร

1

ว่าด้วยพระอนุราธะพยากรณ์ปัญหา



[762] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่า
มหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุราธะก็อยู่ในกุฏีในป่า
ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็น
อันมาก เข้าไปหาท่านพระอนุราธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุราธะว่า ดูก่อนท่านอนุราธะพระตถาคตผู้เป็น
อุดมบุรุษ ผู้เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม
แล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง 4 นี้ คือ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิด
อีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ท่าน
พระอนุราธะตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้
เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อ
จะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง 4 นี้ คือ สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้.
1. อนุราธสูตรที่ 2 ไม่มีอรรถกถาแก้.

[763] เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือ
ลัทธิอื่นเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ก็ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็น
ภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน หรือเป็นพระเถระแต่หากเป็นพระเขลา ไม่
ฉลาด ครั้งนั้นแล พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานท่าน
พระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่และด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้ว
ได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น
หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิด ดังนี้ว่า ถ้าว่าพวก
ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามยิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์แก่พวกปริพาชกผู้ถือ
ลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างไรหนอ จึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และ
พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งสหธรรมิกไรๆ ผู้คล้อยตามวาทะ จะ
ไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้.
[764] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฏีในป่าในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็น
อันมาก ได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับข้าพระองค์ ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว. จึงได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า ก่อนท่านอนุราธะ พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ

เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อ
ทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง 4 นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก
ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวก
ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบเขา
เหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ. เป็นบรมบุรุษ
ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อทรงบัญญัติข้อนั้น
ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง 4 นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว
ย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าว
อย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ก็
ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน หรือว่าเป็นพระเถระ
แต่หากเป็นพระเขลา ไม่ฉลาด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกปริพาชกผู้ถือ
ลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และ
ด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้วได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน
ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า ถ้าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นพึงถาม
เรายิ่งขึ้นไปไซร้ เราจะพยากรณ์แก่พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น
อย่างไรจึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะ
ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่
ธรรม ทั้งสหธรรมิกไรๆ ผู้คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชน
พึงติเตียนได้ ดังนี้ พระเจ้าข้า.

[765] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอนุราธะ เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ท่านพระอนุราธะ
กราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรา เราเป็นนั้นนั่นเป็นตัวตนของเรา.
. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
. เวทนา. . .สัญญา. . .สังขาร. . .วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั้น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
[766] . ดูก่อนอนุราธะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก
ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้
ก็ดี รูปนั้นทั้งหมด เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนา. . .
สัญญา. . .สังขาร. . .วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต
อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด
ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนา. . .
สัญญา. . . สังขาร . . . วิญญาณทั้งหมด ท่านพึง เห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา ดูก่อนอนุราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดังนี้.
[767] ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอ
ย่อมเห็นรูปว่าเป็นสัตว์หรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. เธอเห็นเวทนาว่าเป็นสัตว์หรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. เธอเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์หรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. เธอเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์หรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. เธอเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์หรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[768] . ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอย่อมเห็นว่าสัตว์ในรูปหรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. เธอเห็นว่าสัตว์อื่นจากรูปหรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. เธอเห็นว่า สัตว์ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
หรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. เธอเห็นว่า สัตว์อื่นจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จาก
วิญญาณหรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[769] . ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอเห็นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์หรือ.
. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[770] . ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอเห็นว่า สัตว์นี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มี
วิญญาณหรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
. ดูก่อนอนุราธะ ก็เธอหาสัตว์ในขันธ์ 4 นี้ โดยจริง โดยแท้
ไม่ได้ในปัจจุบัน ควรหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ตถาคต
ผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้เป็นบรมบุรุษรบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม
แล้ว เมื่อบัญญัติข้อนั้น ย่อมบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง 4 นี้ คือ สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้.
. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
. สาธุ สาธุ อนุราธะ ดูก่อนอนุราธะ ในกาลก่อนด้วย ใน
บัดนี้ด้วย เราย่อมบัญญัติทุกข์และความดับแห่งทุกข์.
จบ อนุราธสูตรที่ 2

3. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร



ว่าด้วยพระโกฏฐิตะถามปัญหาพระสารีบุตร



[771] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ
อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น
ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่หลีกเร้น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่าน